ประสิทธิภาพของแผ่นฟองน้ำจากชานอ้อยในการดูดซับเสียง (The Efficiency of Sponge from Bagasse on Sound Absorption)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ขนิษฐา ทองเนื้อแข็ง, อัจฉรา แซ่บ้าง

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

677.54 ข15ป

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟองน้ำจากชานอ้อยในการดูดซับเสียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟองน้ำดูดซับเสียงในการดูดซับเสียง โดยใช้เส้นใย ซานอ้อยที่ผ่านการปรับสภาพผิวด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ มาผสมกับน้ำยางธรรมชาติเข้มข้นร้อยละ 27.7 ศึกษาชิ้นทดสอบที่มีอัตราส่วนเส้นใยชานอ้อยต่อเกลือโซเดียมซัลเฟตที่ 50:25 50:50 และ 50:75 จากการศึกษาสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ สมบัติความหนาแน่นตามมาตรฐาน ArmaSound RD (+240 kg/m) พบว่า ค่าความหนาแน่นมีแนวโน้มลดลง เมื่ออัตราส่วนของเกลือโซเดียมซัลเฟต เพิ่มมากขึ้นอัตราส่วน 50.75 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่อัตราส่วนที่ 50-25 และ 50:50 มีค่าเกินมาตรฐาน จากการศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟองน้ำจากชานอ้อยในการดูดซับเสียง ทำการวัดเสียงจาก แหล่งกำเนิด โดยวัดค่าในช่วงความถี่ 125 Hz 250 Hz 500 Hz 1,000 Hz 2,000 Hz 4,000 Hz และ 8,000 Hz พบว่า อัตราส่วน 50:25 มีค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงดีที่ความถี่ 8,000 Hz โดยมีค่า ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงร้อยละ 61.18 ในขณะที่อัตราส่วน 50: ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ArmaSound RD มีค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงดีที่ความถี่ 8,000 Hz โดยมีค่าประสิทธิภาพใน การดูดซับเสียงร้อยละ 55.07

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ประสิทธิภาพของแผ่นฟองน้ำจากชานอ้อยในการดูดซับเสียง