การพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Teacher Development for Developing Analytical Thinking of Students in Multicultural Society of Five Southern Border Provinces)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

จุไรศิริ ชูรักษ์, นพเก้า ณ พัทลุง, พนัชกร พิทธิยะกุล, ธีรพล สยามพันธ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.370.7 พ15ก

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยระดับแผนงานโดยมีโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานจำนวน 3 โครงการได้แก่โครงการวิจัยที่ 1 การพัฒนาชุดฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม สำหรับครูใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการวิจัยที่ 2 การพัฒนาครูสู่การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการวิจัยที่ 3 การฝึกอบรมครูด้านการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม สำหรับครูใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูสู่การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อศึกษาผลการฝึกอบรมครูด้านการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการวิจัยที่1 ได้แก่ ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 45 คน ได้มาจากการรับสมัคร และกลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ นักเรียนในชั้นเรียนของครูกลุ่มเป้าหมาย ส่วนกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการวิจัยที่ 2 ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 50 คน และกลุ่มเป้าหมายรองได้แก่ นักเรียนในชั้นเรียนของครูกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 25 คน และกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการวิจัยที่ 3 ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 50 คน และกลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่นักเรียนในชั้นเรียนของครูกลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรมครู เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้สำหรับครู 3) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการใช้ชุดฝึกอบรม 5) แบบสนทนากลุ่มเพื่อรวบรวมความคิดเห็นของครู 6) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 7) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน 8) แบบประเมินรายงานการวิจัยในชั้นเรียน 9) แบบวัดความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมวิจัยในชั้นเรียน 10) แบบวัดเจตคติของครูต่อการวิจัยในชั้นเรียน 11) หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ต 12) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่อง การสร้างสื่ออินเตอร์เน็ต 13) แบบประเมินความสามารถในการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ต 14) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ต 15) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูมีความต้องการในการเข้ารับการฝึกอบรม นักวิชาการเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการฝึกอบรมครูช่วยทำให้ครูมีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าก่อนการอบรมและนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น ชุดฝึกอบรม เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับครูใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการใช้ชุดฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ของครูเรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม และสูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม โดยมีคะแนนส่วนตาง คิดเป็นร้อยละ 21.63 2) ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูหลังเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม ส่วนครูที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมมีคะแนนทักษะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง 3) ความพึงพอใจของครูต่อการใช้ชุดฝึกอบรมในอยู่ระดับมาก 4) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักรัยนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้จากครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นโดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น 38.63 ส่วนนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้จากครูที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละที่เพิ่มขึ้นคิดเป็น15.25 2. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนใต้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นพบว่า 1) ครูมีความรู้เรื่องการวิจัยในชั้นเรียนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม (ค่าเฉลี่ย=12.46) (62.30%) 3) ครูมีเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย =3.97) 4)ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย =4.33) และ5) นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการวิจัยในชั้นเรียนสูงกว่าก่อนการวิจัยในชั้นเรียน (ค่าเฉลี่ย=23.48,13.84 ตามลำดับ) 3. ความรู้ของครู เรื่อง การสร้างสื่ออินเตอร์เน็ตหลังการฝึกอบรม (ค่าเฉลี่ย=22.74) สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม (ค่าเฉลี่ย=15.28) ความสามารถในการสร้างสื่ออินเตอร์เน็ตของครู อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นคะแนนร้อยละ 78.60 ความพึงพอใจของครูต่อการฝึกอบรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย=4.46) และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตสูงกว่าก่อนการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต (ค่าเฉลี่ย=24.76,14.48 ตามลำดับ)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้