แนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับครู โดยการนำ Google Apps For Education มาใช้ กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Guidelines for the development of the curriculum for teachers By Google Apps For Education : A Case Study of Primary Education Servic

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เสรี ชะนะ, ยาใจ โรจนวงศ์ชัย, พิกุล สมจิต

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว.371.334 ส57น

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเทคโนโลยีของ Google apps for Education มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู และ ศึกษาความพึงพอใจในการสอนของครู จากการนำเทคโนโลยี Google Apps for Education มาใช้ในการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครูผู้สอนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสงขลา ทั้ง 3 เขตที่ได้รับการอบรมโครงการ Google Apps for Education จำนวน 210 คน เป็นชาย 50 คนเป็นหญิง 160 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกวิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) การออกแบบ แบบเรียนโดยนำ Google Apps for Education ซึ่งประกอบไปด้วย Google Mail, Google Calendar, Google Classroom, Google Drive และ Google Sites มาใช้ในการเรียนการสอนสำหรับครูโดยใช้วิธีการอบรม (2) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังจากการอบรม (3) แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้งาน และศึกษาความพึงพอใจในการสอนของครู จากการใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติ พรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของตัวแปรต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมโครงการ ในแต่ละประเด็นที่มีต่อการฝึกอบรม ประกอบด้วยข้อคำถาม 5 ด้าน เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ความพึงพอใจเฉลี่ยในด้านสถานที่ 4.50 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจเฉลี่ยในด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ 4.43 อยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจเฉลี่ยในด้านวิทยากร 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจเฉลี่ยต่อความรู้ความเข้าใจ 3.64 อยู่ในระดับมาก 2. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้งานและการสอนของครู เฉลี่ย 4.33 อยู่ในระดับมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

แนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับครู โดยการนำ Google Apps For Education มาใช้ กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา