ศาสนสถานกับการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล (Places to travel in Songkhla province, Phatthalung and Satun)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
ชุลีพร ทวีศรี, สิทธพร ศรีผ่อง, ทิวาพร จันทร์แก้ว, กัลย์วดี เรืองเดช |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
เลขหมู่: |
ว 294.33 ศ28 |
รายละเอียด: |
วิจัยเรื่อง “ศาสนสถานกับการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล” ใช้วิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพของศาสนสถาน เพื่อสำรวจและรวบรวมศาสนสถานในพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล ผลจากการศึกษาพบว่า
ศาสนสถานในพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล เป็นส่วนใหญ่เป็นวัดและมีความเก่าแก่ที่อยู่มาตั้งแต่แรกเริ่มในการสร้างบ้านแปลงเมืองยุคแรกๆ โดยเฉพาะหลังจากที่มีความเชื่อจากภายนอก (ศาสนา) เข้ามาเผยแพร่ในพื้นที่ ทำให้สถานะของศาสนสถานกลายมาเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและอิทธิพลกับผู้คนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันภายในท้องถิ่นและพื้นที่อย่างมาก เช่น วัดพะโคะ วัดจะทิ้งพระ โคกแขกชี วัดเขียนบางแก้ว มัสยิดมำบัง วัดมัชฌิมาวาส วัดคูเต่า เป็นต้น และนอกจากจะมีความสำคัญต่อผู้คนในแง่ความเชื่อ ความศรัทธาแล้วยังมีคุณค่าต่อการศึกษาด้านพัฒนาการประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและอาณาบริเวณรอบข้างได้เป็นอย่างดี เพราะศาสนสถานมักจะผูกโยงเข้ากับเรื่องราว ข้อมูลข้อเท็จจริงของท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งตำนานนิทานต่างๆ เช่น วัดพะโคะกับตำนานหลวงปู่ทวด วัดเขียนบางแก้วกับตำนานพระนางเลือดขาว
ด้วยเหตุนี้ ศาสนสถานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากต้องทำหน้าที่ของตนเองแล้ว ยังมีสถานะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามจากสภาพความเป็นจริงของศาสนสถานบางแห่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เพราะมีองค์ประกอบเหมาะที่พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ แต่ศาสนสถานบางแห่งนั้นมีข้อจำกัดถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวเพียงใดก็ตามก็ยังไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ศาสนสถานกับการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล
|
|
|