การสร้างพื้นผิวในงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา (Creation texture in serigraphy by local materials found in Songkhla.)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

อริยา กัณฑลักษณ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว 769 อ17ก

รายละเอียด: 

การสร้างพื้นผิวในงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเทคนิควิธีการ รวบรวม จำแนก และเปรียบเทียบพื้นผิวเพื่อสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา โดยการศึกษาลักษณะพื้นผิวของพืชชนิดต่างๆ พื้นผิววัสดุสังเคราะห์ และพื้นผิวหัตกรรมพื้นบ้าน เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ผลการวิจัย พบว่า วัสดุพื้นถิ่นที่มีความเหมาะสมในการสร้างพื้นผิว ควรมีลวดลายที่จัดเจน มีความบาง มีความโปร่ง มีความยืดหยุ่น สามารถดูดซับกาวอัดได้ดี มีความคงทน ในงานวิจัยนี้ใช้ 3 เทคนิคด้วยกันในสร้างพื้นผิว ได้แก่ 1) การสร้างภาพพิมพ์โดยใช้พื้นผิวของวัสดุโดยตรงมาประทับรอยแม่พิมพ์ 2) การสร้างภาพพิมพ์โดยเทียนไข หรือวัสดุที่เป็นไขมาขูดทับให้เกิดร่องรอย และ 3) การสร้างภาพพิมพ์โดยการอัดบล็อกสกรีน วัสดุที่ใช้ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ วัสดุธรรมชาติ ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกคุณสมบัติของวัสดุที่มีความเหมาะสมทั้ง 9 ชนิด และวัสดุสังเคราะห์ 6 ชนิด ซึ่งพบว่า วัสดุแต่ละชนิดมีพื้นผิวต่างกัน เมื่อนำมาผสมและทับซ้อนกัน ก็จะเกิดมิติของลวดลาย นำมาสร้างรูปร่าง รูปทรง ตามหลักองค์ประกอบทำให้ได้ผลงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหม โดยใช้พื้นผิวของวัสดุพื้นถิ่นที่สมบูรณ์ มีเอกภาพ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การสร้างพื้นผิวในงานภาพพิมพ์ตะแกรงไหมโดยใช้วัสดุพื้นถิ่นที่พบในจังหวัดสงขลา