ประเภท:
งานวิจัย
ผู้แต่ง:
ธวัชชัย ศรีพรงาม, อัมพล ชูสนุก, นราวดี บัวขวัญ, วนิดา เพ็ชร์ลมุล, ไสว บัวแก้ว, ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ปีที่พิมพ์:
2561
เลขหมู่:
ว 374.8 อ34
รายละเอียด:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวข้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้ชุมชนพญาบังสาของชาวบ้านชุมชนพญาบังสา จังหวัดสตูล เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ที่มีพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชาวบ้านชุมชนพญาบังสา จังหวัดสตูล มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยการเลือกตัวอย่างแบบตามสะดวก ได้จำนวนทั้งสิ้น 581 คน เพศหญิง 313 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 40 ปี สำหรับเครื่องมือวัดตัวแปรเป็นแบบมาตรประเมินรวมค่า ซึ่งได้สร้างและมีการทดลองหาคุณภาพแบบวัด โดยเลือกใช้เฉพาะข้อที่มีคุณภาพรวมข้อสูงเข้าสู่มาตรฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญมี 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ โดยมีปัจจัยด้านสถานการณ์ ร่วมกับจิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ รวม 9 ตัวแปร พบว่า ตัวแปรการรับรู้ข่าวสารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพญาบังสาเป็นตัวทำนายที่สำคัญอันดับแรกของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา รองลงมา คือ การเห็นแบบอย่างจากคนรอบข้าง และการสนับสนุนทางสังคมจากภาครัฐตามลำดับ ประการที่สอง จากการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของลักษณะสถานการณ์ และจิตลักษณะเดิมต่อจิตลักษณะตามสถานการณ์ และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา ของชาวบ้านชุมชนพญาบังสา จังหวัดสตูล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี ค่าไค – สแควร์ (X²) เท่ากับ 47.853 ที่องศาอิสระ (dƒ) 40 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.184 ไค – สแควร์ สัมพันธ์ (X²/ dƒ) เท่ากับ 1.196 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)เท่ากับ 0.991 ค่าดัชนี วัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.961 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.998 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.026 และค่าดัชนีค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์(RMSEA) เท่ากับ 0.018 ประการที่สาม ผลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า กลุ่มชาวบ้านชุมชนพญาบังสา จังหวัดสตูล ที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา เกิดความพร้อมที่จะสนับสนุนศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา และเกดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา เป็นกลุ่มแรก คือ กลุ่มชาวบ้านที่ไม่เคนเข้าร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะการปฏิบัติเพื่อการพัฒนา กล่าว คือ ตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา คือ การรับรู้ข่าวสารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพญาบังสา ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มีการรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนพญาบังสา โดยการหาช่องทางการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ไปยังชาวบ้านให้มากที่สุด เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รวมทั้งร่วมมือในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพญาบังสาต่อไป
ไฟล์เอกสาร:
(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน)
อิทธิพลของลักษณะสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการร์ ต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนพญาบังสา ของชาวบ้านพญาบังสา จังหวัดสตูล