พฤติกรรมการป้องกันตนเองของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน ในจังหวัดนราธิวาส (SELF - PROTECTIVE BEHAVIORS AMONG FAMILY MEMBRES OF LEPROSY PATIENTS IN NARATHIWAT PROVINCE)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

พัฒน์ชินี สันติกาญจน์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

616.998 พ113พ 2561

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์และเชิงสาเหตุ (Causal Comparative or Correlation Research) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรแฝงภายนอก คือ ความรู้เรื่องโรคเรื้อน และเจตคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนที่มีต่อตัวแปรแฝงภายใน คือ พฤติกรรมการป้องกันตนเองของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนในจังหวัดนราธิวาส โดยมีตัวแปรกำกับ คือ ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ขนาดของครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน และลักษณะครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยโรคเรื้อนที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จำนวน 483 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโมเดลสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคลในส่วนของ เพศ อายุ และรายได้ กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนในจังหวัดนราธิวาส ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนข้อมูลด้านขนาดของครอบครัว และลักษณะครอบครัว มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความรู้เรื่องโรคเรื้อน และเจตคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน พบว่าความรู้เรื่องโรคเรื้อนไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เจตคติต่อโรคเรื้อนมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความรู้เรื่องโรคเรื้อนและเจตคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อนของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อนได้ ร้อยละ 39.4 การวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะแนวทางการป้องกันโรคเรื้อน โดยควรเน้นในด้านเจตคติที่มีต่อโรคเรื้อน เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

พฤติกรรมการป้องกันตนเองของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยโรคเรื้อน ในจังหวัดนราธิวาส