การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง (A STUDY OF EMERGENCY MEDICAL SERVICE SYSTEM AS PERCEIVED BY EMERGENCY MEDICAL PRACTITIONER IN LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS, PHATTHALUNG

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

ยุภาวดี คงดำ

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเปรียบเทียบการรับรู้การปฏิบัติการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน จำแนกตามหน่วยบริการที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดพัทลุง จำนวน 210 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) กับวิธีการทดสอบของเซฟเฟ่ (Scheffe’s test) ผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน มีการรับรู้ความพร้อมในการให้บริการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านยานพาหนะ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ร้อยละ 100 ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีการรับรู้มากที่สุด คือด้านการเคลื่อนย้าย นำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม ( = 4.78, S.D. = 0.51) การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้การปฏิบัติการตามระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด้านการรับแจ้งเหตุและคำสั่งปฏิบัติการ การช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ และการเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลของผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีการรับรู้แตกต่างกัน จำนวน 1 ด้าน คือ การเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม โดยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานในเทศบาลและผู้ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล มีการรับรู้ด้านการเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง