ประเภท: |
วิทยานิพนธ์ |
|
ผู้แต่ง: |
สราวุธ อัมพร |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
|
เลขหมู่: |
616.91 ส17ก 2561 |
|
รายละเอียด: |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) เพื่อพัฒนารูปแบบและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยเลือกแบบเจาะจงได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 65 คน ผู้ปกครอง 65 คน และผู้ดูแลเด็ก 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนกันยายน 2560 การพัฒนารูปแบบและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต 4) การสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความรู้เรื่องโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง แบบสังเกตพฤติกรรมสุขภาพของเด็กและผู้ดูแลเด็ก แบบประเมินสิ่งแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กที่มีต่อการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากและแบบสังเกตการพัฒนา มาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาด้วยสถิติ Paired t-test และ One – way repeated measures ANOVA ที่ระดับ α = .05 หลังจากดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น 5 เดือนพบว่า ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโรคมือเท้าปากเพิ่มขึ้น เด็กและผู้ดูแลเด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดีขึ้น ผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากเพิ่มขึ้น และมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนพัฒนารูปแบบ นอกจากนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถลดอุบัติการณ์เด็กป่วยลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 3 ปีย้อนหลัง ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเป็นรูปแบบเชิงรุกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งอื่น ๆที่มีบริบทใกล้เคียงกัน |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
|