การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งกลอยผสมแป้งมันสำปะหลัง : The feasibity study of bioplastic film production made from starch of wild yam mixed with cassava

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ราตรี ใบโส๊ะ, สุริยะ เมาน้ำพราย

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว.668.495 ร24ก

รายละเอียด: 

ปัญหาขยะจากถุงพลาสติกสังเคราะห์เป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ในปัจจุบันจึงมี ความพยายามที่จะพัฒนาพลาสติกชีวภาพด้วยแป้งจากพืชหลายชนิด เนื่องจากในพืชเหล่านี้มี องค์ประกอบของ อะไมโลสและอะไมโลเพคติน ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตฟิล์มพลาสติกย่อย สลายได้ทางชีวภาพจากแป้งกลอยผสมแป้งมันสำปะหลังจำนวน 11 อัตราส่วน (100:0, 90:10, 80:20, 70:30, 60:40, 50:50 40,60, 30,70, 20:80, 10.90 และ 0:100) ขึ้นรูปด้วยวิธีการให้ความ ร้อนแป้ง แล้วทดสอบสมบัติทางกายภาพ และเคมี พร้อมทั้งการย่อยสลายของแผ่นฟิล์มโดยวิธีการฝัง ผลการศึกษาพบว่าแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งกลอยผสมมันสำปะหลังที่อัตราส่วน 40: 60 เหมาะสมในการผลิตเป็นแผ่นฟิล์มชีวภาพสูงสุดเนื่องจากมีการอ่อนตัวสูง ไม่เปราะหรือฉีดขาด และ ฟองอากาศน้อย มีสมบัติเชิงกลในด้านค่าความหนา ร้อยละการยึดตัว ณ จุดขาด และค่าการต้านทาน แรงดึง เป็นตามเกณฑ์มาตรฐาน ASTM D638 มีค่าเท่ากับ 0.2667+0.0231 มิลลิเมตร, 97.50+0.001 และ 6.1900+0.0001 เมกะปาสกาล ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (P>0.05) กับพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ยกเว้นด้านความหนา ส่วน แผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งกลอยผสมมันสำปะหลังที่อัตราส่วน 0:100, 10:90, 20.80 และ 30:70 ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน ASTM D638 เช่นเดียวกันแต่พบว่ามีปัญหาในเรื่องฟองอากาศและการอ่อนตัว และ ค่าร้อยละความชื้นของแผ่นฟิล์มชีวภาพมีแนวโน้มลดลงตามปริมาณของแป้งมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นซึ่ง ฉะนั้นทางกับค่าการดูดซับน้ำ ในส่วนของการทดสอบการย่อยสลายของแผ่นฟิล์มพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณ แป้งมันสำปะหลังแผ่นฟิล์มจะแตกหักมากขึ้น ซึ่งสัปดาห์ที่ 5 แผ่นฟิล์มชีวภาพอัตราส่วน 0:100 มีร้อย ละการสลายตัวทางชีวภาพสูงสุด เท่ากับ 89.62 แผ่นฟิล์มมีลักษณะเกือบเป็นเนื้อเดียวกับดิน และ อัตราส่วน 40:60 มีร้อยละการสลายตัว 75,33

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นฟิล์มชีวภาพจากแป้งกลอยผสมแป้งมันสำปะหลัง