การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัณฐานวิทยาของแผ่นโฟมกับประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง : The study on the relationship between foam morphology and efficiency of sound abso

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

พัชรินทร์ ศรีขวัญ, อาริยา แก้วหนู

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2560

เลขหมู่: 

ว.668.493 พ112ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัณฐานวิทยาของแผ่นโฟมกับประสิทธิภาพใน การดูดซับเสียง เนื่องด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาของโฟมที่ประกอบด้วยรูพรุนจำนวนมากทำให้ สามารถป้องกันเสียงได้ดี จึงสนใจในการใช้ประโยชน์จากแผ่นโฟมมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแผ่นดูดซับ เสียง เพื่อใช้ทดแทนแผ่นดูดซับเสียงที่ทำจากวัสดุใยหิน แผ่นยิปซัมบอร์ด หรือวัสดุใยแก้ว งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาโฟมทั้งแบบเซลล์เปิด จำนวน 5 ชนิด และเซลล์ปิด จำนวน 5 ชนิด โดยลักษณะทางสัณฐาน วิทยาของโฟมโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อสังเกตลักษณะรูปร่างของเซลล์ ขนาด และการนับ จำนวนเซลล์ จากนั้นจึงหาค่าประสิทธิภาพของแผ่นโฟมในการดูดซับเสียง พบว่า เซลล์โฟมแบบเปิด 02 มีค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงสูงสุด ที่ ร้อยละ 34.49 ในความถี่ 8000 Hz สำหรับเซลล์ โฟมแบบปิด พบว่า ประสิทธิภาพการดูดซับเสียงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเซลล์โฟมแบบปิดแต่ละชนิด เซลล์โฟมชนิด C2 มีค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงสูงสุดที่ร้อยละ 41.61 ในความถี่ 8000 Hz นอกจากนี้ในการศึกษาหาสัมพันธ์ระหว่างค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงกับโครงสร้าง พบว่า เซลล์โฟมแบบปิดมีค่าประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงสูงกว่าเซลล์โฟมแบบเปิด ซึ่งจากการศึกษา ลักษณะโครงสร้างของโฟมแต่ละชนิด พบว่า เซลล์โฟมแบบปิดจะมีลักษณะของเซลล์ที่มีขนาดเล็ก และขนาดเซลล์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน เมื่อทําการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างค่า ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงกับขนาดเซลล์ พบว่าเชลล์โฟมแบบปิดให้ค่าความสัมพันธ์ทางสถิติสูง กว่าเมื่อเทียบกับเซลล์โฟมแบบเปิด ดังนั้นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของการดูดซับเสียง คือ ขนาด และโครงสร้างของเซลล์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัณฐานวิทยาของแผ่นโฟมกับประสิทธิภาพในการดูดซับเสียง