การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ่ยหมักจากใบยางพาราและแกลบโดยใช้ถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่ (Comparison Study on the Nutrients Content of the Compost from the Rubber Leaves and Husks by using Horizontal pipe Hole Pairs)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

วาสนา สุวรรณชาตรี, ศรินธร ไพฤทธิ์

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.631.87 ว28ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหาปริมาณธาตุอาหารหลักในปุ๋ยหมักจากใบยางพาราและลบโดยใช้ถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่โดยดำเนินการหมัก3 ชุด คือชุดที่ 1 ใบยางพารา ชุดที่ 2 แกลบ และชุดที่ 3 ใบยางพาราผสมแกลบ ใช้ระยะเวลาในการหมัก 45 วันมีการวิเคราะห์ปุ๋ยในด้านลักษณะทางกายภาพได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นและคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-ด่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คาร์บอนอินทรีย์ และอัตราส่วนคาร์บอน อินทรีย์ต่อไนโตรเจน จากการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการหมักค่าอุณหภูมิของปุ๋ยหมักที่ใต้ทั้ง 3 ชุดมีค่า 31.3 29.0 และ 30 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ค่าความเป็นกรด - ต่างของปุ๋ยหมักมีค่า 6.55 7.15 และ 7.33 ตามลำดับ ค่าความขึ้นของปุ๋ยหมักเมื่อสิ้นสุดการหมักมีค่าอยู่ที่ 39.24 40.75 และ 43.42 ตามลำดับอัตราส่วนคาร์บอนอินทรีย์ต่อไนโตรเจนของปุ๋ยหมักเมื่อเริ่มต้นการหมัก (เมื่อวันที่ 7 ของการ หมัก) มีค่า 87.25 94.84 และ 76.57 ตามลำดับ และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการหมัก มีค่าเท่ากับ 18.91 49.34 และ 28.8 ตามลำดับ อัตราส่วนธาตุอาหารหลักในเทอมของในโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม ชุดที่ 1 มีค่า 1.80.0.75:1.09 ชุดที่ 2 มีค่า 0.83.0.12:1.11 ชุดที่ 3 มีค่า 1.25.0.22:1.12 ตามลำดับ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ๋ยหมักที่สิ้นสุดการหมัก พบว่า ปริมาณธาตุไนโตรเจน (N) ของปุ๋ยหมักทั้ง 3 ชุด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความ เชื่อมั่น 959% ส่วนปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (P) และปริมาณธาตุโพแทสเซียม () ของปุ๋ยหมักทั้ง 3 ชุด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 9596 และเมื่อเปรียบเทียบค่าปริมาณ ธาตุอาหารหลัก พบว่าปุ๋ยหมักชุดที่ 1 ใบยางพาราอย่างเดียว มีปริมาณธาตุอาหารสูงที่สุด รองลงมาคือ ปุ๋ยหมักชุดที่ 3 ใบยางพาราผสมแกลบ และปุ๋ยหมักชุดที่ 2 แกลบ ตามลำดับ โดยมีเพียงปุ๋ยหมักชุดที่ 1 (ใบยางพาราอย่างเดียว) ที่มีค่าปริมาณธาตุอาหารหลักผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2548

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักของปุ่ยหมักจากใบยางพาราและแกลบโดยใช้ถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่