การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและหญ้าขน (The Potentiality Studies of Making Compost from Water Hyacinth and Paragrass)
|
ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
ผู้แต่ง: |
นิลาวรรณ ธรฤทธิ์, สุชาดา วิใจ |
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2557 |
เลขหมู่: |
ว.631.8 น37ก |
รายละเอียด: |
การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและหญ้าขน โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักที่มีอยู่ในปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและ หญ้าขนกับค่ามาตรฐานของปุ๋ยหมัก โดยใช้ระยะเวลาในการหมัก 40 วัน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยกัน3 สูตรได้แก่ สูตรที่ (1) ผักตบชวา สูตรที่ (2) หญ้าขน และสูตรที่ (3) ผักตบชวา ร่วมกับหญ้าขน โดยจะทำการตรวจวิเคราะห์อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจน (C:N ratio) และปริมาณธาตุอาหารหลัก (N-P-K) จากการศึกษา พบว่าอุณหภูมิในถังหมักอยู่ในช่วง 30.00 ถึง 33.00 องศาเซลเซียส ซึ่งในช่วงที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ส่วนความขึ้นถูกควบคุมไว้ในช่วงร้อยละ50.66 ถึง60.00ซึ่ง มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) 6 ถึง 8 เหมาะต่อ การดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ ค่า CN ratio ทั้ง 3 สูตรต่ำกว่า 20:1 ซึ่งค่าที่ได้อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกับ ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญเป็นต่อการ เจริญเติบโตของพืชได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณธาตุอาหารหลัก (N-P-K) ของปุ๋ยหมักอยู่ในเกณฑ์ที่ ยอมรับได้มีค่าดังนี้ สูตรที่ (1) ค่าที่ได้เท่ากับ 2.37-0.76-3.63 สูตรที่ (2) ค่าที่ได้เท่ากับ 2.52-0.814.27 และสูตรที่ (3) ค่าที่ได้เท่ากับ 2.28-0.83-3.85 เมื่อนำปุ๋ยหมักทั้ง 3 สูตรนี้ไปใช้ทดสอบปลูก ผักคะน้า พบว่าในน้ำหนักสดที่ได้ใกล้เคียงกัน เนื่องจากผักคะน้าเป็นพืชที่ต้องการไนโตรเจนสูงและปุ๋ย หมักทั้ง 3 สูตรก็มีปริมาณไนโตรเจนที่ใกล้เคียงกัน จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารหลัก พบว่าปุ๋ย หมักทุกสูตรมีปริมาณโพแทสเซียมสูงกว่าธาตุอาหารตัวอื่นๆ ดังนั้นจึงควรมีการนำปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ไป ใช้ทดสอบความเจริญเติบโตของพืชประเภทหัว ซึ่งพืชประเภทนี้ต้องการโพแทสเซียมสูงในการ เจริญเติบโต |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาความเป็นไปได้ในการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและหญ้าขน
|
|
|