การศึกษาความเป็นไปได้ในการหมักปุ๋ยโดยใช้ถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่ (Feasibility Study of Composting by using a Twin Horizontal Perforate Pipes Reactor)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

กาสูหรี สาอีซา, นุรมา ดือราเซะ

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.63.187 ก28ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการหมักปุ๋ยโดยใช้ถังหมักท่อ เจาะรูแนวนอนคู่ ซึ่งเป็นถังหมักที่มีวิธีการหมักปุ๋ยแบบใช้อากาศ โดยไม่มีการพลิกกลับกองปุ๋ยใน ระหว่างการหมัก และใช้เวลาในการหมักปุ๋ยลดลง โดยผู้วิจัยทดลองใช้ถังหมักแบบใช้อากาศสอง แบบ คือถังหมักท่อเจาะรูแนวนอนคู่ที่มีการเติมอากาศผ่านท่อเจาะรูแนวนอนคู่ และถังหมักแบบ ธรรมดาที่เติมอากาศโดยการพลิกกลับกองทุกๆ วัน ทดลองหมักปุ๋ยโดยใช้หญ้าในการหมัก และ ใช้ระยะเวลาในการหมัก 35วัน แล้วทำการวิเคราะห์ปุ๋ยในด้านคุณลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ความชื้น อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง และคุณลักษณะทางเคมี ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม อินทรีย์คาร์บอน และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน จากการทดลองพบว่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจนของปุ๋ยหมักที่ได้จากถังหมักท่อเจาะ รูแนวนอนคู่และถังหมักแบบธรรมดาเริ่มต้นการหมัก (เมื่อวันที่ 7 ของการหมัก) เท่ากับ 95.32และ 79.12 ตามลำดับ และเมื่อสิ้นสุดกระบวกการหมัก (ระยะเวลา 35 วันของการหมัก) เท่ากับ 22.86 และ 15.53 ตามลำดับ อัตราส่วนธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ในโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เท่ากับ 1.30:0.47.2.93 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าถังหมัก แบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่และถังหมักแบบธรรมดามีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปริมาณธาตุอาหารหลัก (N-P-K) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักที่ได้ภายในเวลา 15 วัน จากถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของประเทศไทย พ.ศ. 2548

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการหมักปุ๋ยโดยใช้ถังหมักแบบท่อเจาะรูแนวนอนคู่