การผลิตก๊าซชีวภาพจากใบยางพาราและผักตบชวาโดยการหมักร่วมกับมูลโคสำหรับใช้ในครัว ( Biogas production from rubber leaves and water hyacinth by co-digestion with cow manure for household-scale)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นิรวรรณ ยิ้มมงคล, เสาวลักษณ์ ไข่เส้ง

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.631.87 น37ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของอัตราส่วนใบยางพาราและผักตบชวาที่มี ต่อผลผลิตมีเทนในระบบหมักไร้อากาศแบบกะ (2) ศึกษาศักยภาพในการผลิตก๊าซมีเทนโดยการหมักร่วม ระหว่างใบยางพาราและผักตบชวา โดยเป็นการหมักร่วมระหว่างใบยางพาราและผักตบชวา ซึ่งมีมูลโค เป็นหัวเชื้อในการหมักในการทดลองจะมีทั้งหมด 6 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนใบยางพาราและผักตบชวา (Rew 1:0) (R:w 0:1)เป็นการหมักโดยใช้วัสดุหมักเพียงชนิดเดียว อัตราส่วนใบยางพาราผักตบชวา (R:W 1:0) หมักโดยใช้ใบยางพาราเพียงอย่างเดียว อัตราส่วนใบยางพาราและผักตบชวา (Rew 01) หมักโดยใช้ ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะมีปริมาณของวัสดุหมักที่เท่ากัน เท่ากับ 0.3 8 TS/g Fresh ส่วนในอัตราส่วนใบยางพารา:ผักตบชวา (Rew 1:1) (Rew 2:1) (R:w 1:2) เป็นการหมักร่วมโดยใช้วัสดุหมัก ร่วมกันระหว่างใบยางพาราและผักตบชวา ส่วนในอัตราส่วน RWoo) เป็นการหมักที่ใส่มูลโคที่เป็นหัว เชื้ออย่างเดียว ซึ่งจะเป็นชุดควบคุม จากผลการศึกษา พบว่า การหมักโดยการใช้วัสดุหมักเพียงชนิดเดียว โดยในอัตราส่วนที่ใส่ผักตบชวาเพียงอย่างเดียว (Rew 01 เท่ากับ 108.22 LCH/kg TS) จะมีผลผลิต ก๊าซมีเทนมากกว่าในอัตราส่วนที่ใส่ใบยางพาราเพียงอย่างเดียว (RW 10 เท่ากับ 65.07 LCH/kg TS) คิดเป็นร้อยละ 39.87 การหมักร่วมโดยใช้วัสดุหมักร่วมกันระหว่างใบยางพาราและผักตบชวา พบว่าการ ใช้วัสดุหมักผักตบชวาเป็น 2 เท่าของใบยางพารา (Rew 1.2 เท่ากับ 107.66 LCH/kg TS) เป็นอัตรา ส่วนที่ดีที่สุด มีผลผลิตก๊าซมีเทนสูงที่สุด เมื่อมีการเปรียบเทียบผลผลิตก๊าซมีเทนจากการหมักร่วมกัน ระหว่างใบยางพาราและผักตบชวา อัตราส่วนที่ใส่ผักตบชวาเป็น 2 เท่าของใบยางพารา (Rew 1:2 เท่ากับ 107.66 LCH,kg TS) จะมีปริมาณการผลิตก๊าซมีเทนใกล้เคียงกับการหมักผักตบชวาเพียงอย่างเดียว (R:W0:1 เท่ากับ 108.22 CH/kg TS)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การผลิตก๊าซชีวภาพจากใบยางพาราและผักตบชวาโดยการหมักร่วมกับมูลโคสำหรับใช้ในครัว