ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
ปิญณัฐ มรรคาเขต, ริสกี เจ๊ะมะ |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
|
เลขหมู่: |
ว.631.87 ป33ก |
|
รายละเอียด: |
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะนาว ผลมะกรูด ในการผลิตยางก้อนถ้วย โดยทำการผลิตน้ำหมักชีวภาพ 1 สูตร มีส่วนประกอบ คือ เปลือก มะนาวและผลมะกรูด (kg) ต่อน้ำตาลทรายแดง (kg) ต่อน้ำสะอาด (L) ในอัตราส่วน 5:1:10 ตามลำดับ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการหมัก 30 วัน พบว่า สมบัติทางกายภาพและทางเคมีของน้ำหมักนั้นมี การเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาในกระบวนการหมัก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานของการผลิต น้ำหมักชีวภาพ กล่าวคือ อุณหภูมิของน้ำหมักอยู่ที่ 27-30 % ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ที่ 3.45-3.21 และค่าการนำไฟฟ้า (EC) อยู่ที่ 0.31-0.58 (ds/m) ผลการทดลองของน้ำหมักชีวภาพต่อ การผลิตยางก้อนถ้วย โดยออกแบบแผนการทดลองออกเป็น 3 ชุดการทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 (น้ำยางผสมน้ำหมักชีวภาพ) ชุดการทดลองที่ 2 น้ำยางผสมน้ำส้มฆ่ายาง (ตราเสือ) และ ชุดการทดลองที่ 3 (น้ำยางจับตามธรรมชาติ) โดยใช้อัตราส่วนผสมระหว่างน้ำยางสดต่อสารเร่ง จับตัว ที่ 300:30 ml พบว่า ระยะเวลาการจับตัว น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของยางก้อนถ้วยทั้ง 3 ชุดการทดลอง มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดย ชุดการทดลองที่ 1 (น้ำยางผสมน้ำหมักชีวภาพ) ใช้ระยะเวลาในการจับตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 41+2.00 นาที น้ำหนักสดของยาง ก้อนถ้วยเฉลี่ยเท่ากับ 210.32+0.15 g และน้ำหนักแห้งของยางก้อนถ้วยสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 139.88+2.03 3 ส่วนลักษณะทางกายภาพของชุดการทดลองที่ 1 (น้ำยางผสมน้ำหมักชีวภาพ) พบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน กล่าวคือ หลังจากการจับตัวเป็นก้อนที่ระยะเวลา 1 วัน ยางก้อนถ้วยให้สี ขาวขุ่น และไม่มีหน้าผิวที่เยิ้ม เมื่อยางแห้งที่ระยะเวลา 7 วัน ยางก้อนถ้วยให้สีน้ำตาลเข้ม ส่วนค่า ความอ่อนตัวเริ่มแรกและดัชนีความอ่อนตัว เท่ากับ 14.17 และ 33.17 ตามลำดับ คำสำคัญ:น้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะนาวและผลมะกรูด, การจับตัวของยาง, ยางก้อนถ้วย |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกมะนาวและผลมะกรูดในการผลิตยางก้อนถ้วย |
|