การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องร่อนปุ๋ยหมัก กรณีศึกษาปุ๋ยหมักจากบ่อฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครสงขลา (The development and efficiency evaluation of compost glider Case study of the compost from municipal solid waster landfill Songkhla)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

มัททรี ติเสส, อาอีฉ๊ะ กิริยาดี

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2555

เลขหมู่: 

ว.631.87 ม114ก

รายละเอียด: 

การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องร่อนปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการ ร่อนปุ๋ยหมักจากบ่อฝังกลบให้ได้ขนาดที่ต้องการและลดปริมาณในการนําปุ๋ยที่ผ่านการหมักเข้า เครื่องบดซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพ จากการวิจัยพบว่าเครื่องร่อนปุ๋ย หมักสามารถช่วยลดปริมาณการเข้าเครื่องบดปุ๋ยได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ คงเหลือปริมาณปุ๋ยที่ต้องนําไป เข้าเครื่องบดปุ๋ยหรือขนาดไม่ได้คุณภาพ 20 เปอร์เซ็นต์ และเครื่องร่อนปุ๋ยหมักจากบ่อฝังกลบยังมี ประสิทธิภาพในการร่อนปุ๋ยโดนเฉลี่ย 533 กิโลกรัมต่อชั่วโมงหรือเฉลี่ย 4.26 ตันต่อวันที่การทํางาน 8 ชั่วโมง ซึ่งเครื่องร่อนปุ๋ยหมักจากบ่อฝังกลบสามารถทํางานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การทําการทดสอบเครื่องร่อนทําให้ทราบถึงประโยชน์ของเครื่องร่อนที่สามารถช่วยให้การทําปุ๋ย หมักจากบ่อฝังกลบและลดขั้นตอนการทํางานลงและยังทําให้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพสูงขึ้นเนื่องจาก ปุ๋ยหมักที่ไม่ผ่านเครื่องร่อนซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตร เป็นวัสดุที่ยังไม่ย่อยสลาย อีกทั้งยัง สามารถนําเครื่องร่อนปุ๋ยหมักไปประยุกต์ใช้กับการทําปุ๋ยหมักในระดับชุมชนหรือการทําปุ๋ยหมักไว้ ใช้เองในครัวเรือนได้อีกด้วย เนื่องจากเครื่องร่อนปุ๋ยเป็นเครื่องต้นแบบจึงอาจมีข้อบกพร่องบางส่วนที่ควรปรับปรุง เช่นวัสดุที่ใช้สําหรับทําเครื่องทั้งหมดควรเป็นเหล็กไร้สนิม เพราะจะทําให้คงทนและมีอายุการใช้ งานได้นานขึ้นทั้งยังเป็นการทําให้เครื่องไม่เกิดสนิมมีความปลอดภัยในการใช้งาน ในการออกแบบ เครื่องร่อนปุ๋ยหมักควรออกแบบให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีขนาดที่เหมาะสมกับงาน สามารถใช้ได้กับทุกสถานที่

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องร่อนปุ๋ยหมัก กรณีศึกษาปุ๋ยหมักจากบ่อฝังกลบมูลฝอยเทศบาลนครสงขลา