การพัฒนากระถางเพาะชำจากขุยมะพร้าวผสมกากตะกอนอุตสาหกรรมอาหารทะเล ( Development of molded-pulp pot for plant seedings from coconut fuzz mixed with sewage sludge from seafood industry)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ดารัตน์ มัจฉาวานิช, รุจิกา ไชยยอด

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว.631 ด27ก

รายละเอียด: 

ผลการศึกษาพบว่าสูตรกระถางเพาะชำจากขุยมะพร้าวผสมกากตะกอนอุตสาหกรรมอาหาร ทะเล สูตร S3 (50:50) เป็นสูตรที่เหมาะสมเนื่องจากในด้านความแข็งแรงของกระถางซึ่งพิจารณา จากสมบัติเชิงกล โดยกระถางเพาะชำสูตร S3 (50:50) มีค่าความต้านทานแรงกด (maximum compression load) สูงสุด เท่ากับ 3100.93 N ค่าร้อยละการดูดซึมน้ำ (absorption rate) และค่า ร้อยละความชื้น (moisture) ต่ำ เท่ากับ 228.54+11.09 และ 6.6210.21 ตามลำดับ โดยแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กับชุดควบคุม (S0 (100.00) และสมบัติทางเคมีของ กระถางเพาะชำพบว่าสูตร S3 (50:50) มีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชทั้งในโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมมีค่าร้อยละ 1.54, 0.93 และ 0.57 ตามลำดับ และร้อยละอินทรียวัตถุต่ำสุดร้อยละ 55.181.23 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานปุ๋ยหมัก สำหรับอัตราการย่อยสลายของกระถางเพาะชำพบว่า อัตราการย่อยสลายของกระถางทุกสูตรจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา โดยสูตร S3 (50:50) มี ร้อยละการย่อยสลายสูงสุด เท่ากับ 39.71 และมีค่า C/N ต่ำ เท่ากับ 13.98 ซึ่งค่า C/N หากสูงเกินไป อาจส่งผลให้อัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่ำจนดึงไนโตรเจนดินไปใช้ประโยชน์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนากระถางเพาะชำจากขุยมะพร้าวผสมกากตะกอนอุตสาหกรรมอาหารทะเล