คุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีบริเวณคลองพะวงตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (Physical and Chemical Characteristic of Pawong Chanel, Pawong Sub - distric, Muang Distric, Songkhla Province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

มโณ แนบแก้ว, วิจิตร ม้องพร้า

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2553

เลขหมู่: 

ว.628.16 ม14ค

รายละเอียด: 

จากการศึกษาคุณภาพน้ำทางกายและเคมี บริเวณคลองพะวง ตั้งแต่แหล่งเกษตรกรรมบริเวณบ้านคอลงลึก จนถึงปากคลองพะวงที่บรรจบกับทะเลสาบสงขลาบริเวณสวนเปรม ติณสูลานนท์ ระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคม 2552 พบว่า ความลึก อุณหภูมิ ความนำไฟฟ้า ความเป็นกรด – ด่าง ความขุ่น ของแข็งทั้งหมด ออกซิเจนละลายน้ำ บีโอดี แอมโมเนียไนโตรเจนรวม และฟอสเฟต มีค่าเฉลี่อยู่ในช่วง 2.0-3.1 เมตร, 27.8-28.6 องศาเซลเซียส, 32.7-153.1 ไนโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร, 7.4-8.3, 21.2-24.2 เอ็นทียู 19.7-29.3 มิลลิกรัมต่อลิตร, 4.4-7.1 มิลลิกรัมต่อลิตร, 1.1-2.4 มิลลิกรัมต่อลิตร, 0.53-0.92 มิลลิกรัมต่อลิตร, 2.52-4.56 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 0.06-0.10 มิลลิกรัมฟอสเฟตต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ยกเว้น ค่าบีโอดีในจุดที่ 2 และจุดที่ 4 ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานและ ค่าแอมโมเนียที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานทุกจุด เนื่องมาจากได้รับอิทธิพลจากน้ำทิ้งจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรกรรมในพื้นที่โดยรอบ ดังนั้นน้ำในคลองพะวง ไม่สามารถ นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้โดยตรง ต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น การกำจัดหรือ ทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้ตามที่มาตรฐานกำหนดและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

คุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีบริเวณคลองพะวงตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา