ประเภท: |
งานวิจัย |
|
ผู้แต่ง: |
ณิศา มาชู |
|
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2550 |
|
เลขหมู่: |
ว.639.32 |
|
รายละเอียด: |
การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำแบบระยะสั้นในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส ที่เจือจาง (1:6) ด้วยน้ำยาสูตร 0.85 % NaCl , frong Ringer ' s solution (FRS), Cortland solution (CSS) , modified Cortland 's #1 (MC#1) และ bicarbonate buffer (BCB) ในการทดลองที่ 1 พร้อมทั้งมีการปรับความเป็นกรดด่างของน้ำยาทั้ง 5 สูตร ให้เป็นกลาง (pH =7) ในการทดลองที่ 2 และการปรับน้ำยาโดยเพิ่มปริมาณ NaCl ประมาณ 2เท่าของสูตรเดิม ในน้ำยาสูตรเกลือ , FRS, CSS และ MC#1 ส่วนน้ำยา BCB ปรับลดปริมาณ sucrose ลดครึ่งหนึ่ง ในการทดลองที่ 3 ภายหลังการเก็บรักษาดูเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของอสุจิในน้ำยาแต่ละสูตร เปรียบเทียบกับน้ำเชื้อสดซึ่งเก็บรักษา ที่เวลา 2 ชั่วโมง และทุกวัน จนกว่าอสุจิจะตายหมด ผลปรากฏว่าน้ำยา FRS-2 (น้ำยา FRS ปรับเพิ่ม NaCl เป็น 2 เท่า) มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำได้ดีที่สุด (p <0.05) โดยอสุจิมีชีวิตอยู่ได้นาน 7 วันมีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว ในวันที่ 7 เป็น 13.3 % ในขณะที่น้ำยากลุ่ม FRS , CSS และ MC#1 ทั้งที่ไม่ปรับ /ปรับ pH และปรับเพิ่มปริมาณ NaCl ในสูตรน้ำยาก็สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำได้ นาน 7 วัน เช่นเดียวกัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวอสุจิในวันที่ 7 เป็น 2.3-8.3 % ซึ่งดีกว่า (p<0.05) น้ำเชื้อสดที่เก็บรักษาได้เพียง 3 วัน มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของอสุจิในวันที่ 3 ประมาณ 5-13.3 % แต่ทั้งนี้น้ำยา BCB ทั้งที่ไม่ปรับ/ปรับ pH และปรับลดปริมาณ sucrose ไม่สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำได้ เพราะเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของอสุจิไม่ดีกว่าน้ำเชื้อสดที่เก็บรักษา จากการศึกษาความเป็นกรดด่างของน้ำยา พบว่าการปรับความเป็นกรดด่างของน้ำยาเพิ่มขึ้นหรือลดลง ช่วง 0.5-1.8 ไม่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของอสุจิปลากระบอกดำ จากการศึกษาในครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าน้ำยากลุ่มเกลือ (NaCl) ซึ่งสามารถเตรียมได้ง่ายและประหยัด สามารถใช้เก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำได้ เมื่อใช้ในระดับความเข้มข้น 0.85-2 % อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 5- 7 วัน โดยมีเปอร์เซ็นต์ การเคลื่อนไหวของอสุจิช่วงวันที่ 5 -7 เป็น 3-33 % |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
ศึกษาสูตรน้ำยาในการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลากระบอกดำแบบระยะสั้นในตู้เย็น |
|