ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
รอมือลา วาเตะ, อัสรี อูมา, มะยี อารง |
|
สำนักพิมพ์: |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2561 |
|
เลขหมู่: |
ว.615.324 ร19ก |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาการกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว โดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นงานวิจัย เชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละผลิตภัณฑ์ของสารสกัดสมุนไพร พื้นบ้าน และเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาว โดยใช้สมุนไพรพื้นบ้าน โดย พัฒนาจากสูตรทั่วไป (รากหางไหลผสมใบยาสูบ) และสูตรพัฒนา 1 (รากหางไหลผสมใบยาสูบ และ ใบน้อยหน่า) สูตรพัฒนา 2(รากหางไหลผสมใบยาสูบ และใบกันเกรา) และสูตรพัฒนา 3 (รากหางไหลผสมใบยาสูบ และพริกไทย) โดยใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย ระยะเวลา ในการสกัด 7 วัน ที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 และ 1 (wy) ทดสอบฤทธิ์ทุก ๆ 1-12 ชั่วโมง ผลการศึกษาร้อยละผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่าสูตรที่มีร้อยละผลิตภัณฑ์สูงสุด คือ สูตรพัฒนา 3 ติดเป็นราคาร้อยละผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนักเท่ากับ 33.57 (1.84 บาท/มิลลิลิตร) รองลงมาสูตรทั่วไป คิดเป็นราคาร้อยละผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนักเท่ากับ 33.58 (193 บาท/มิลลิลิตร) สูตรพัฒนา 2 คิดเป็นราคาร้อยละผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนักเท่ากับ 47.26 (2.66 บาท/มิลลิลิตร) และสูตร พัฒนา 1 คิดเป็นราคาร้อยละผลิตภัณฑ์โดยน้ำหนักเท่ากับ 64.13 (3.73 บาท/มิลลิลิตร) เมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านสูตรทั่วไป แtะสูตรพัฒนาทั้ง 3 สูตร พบว่า สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 (v/v) สูตรพัฒนา 2 มีประสิทธิภาพในการ กำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวสูงสุด (กำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวได้ร้อยละ 100 ที่ระยะเวลา 9 ชั่วโมง) ส่วนที่ความเข้มข้นร้อยละ 1 (v/v)สูตรพัฒนา 3 มีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวสูงสุด (กำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวได้ร้อยละ 100 ที่ระยะเวลา 7 ชั่วโมง) และเมื่อเปรียบเทียบสารสกัด สมุนไพรพื้นบ้านสูตรพัฒนาทุกสูตรกับสารสกัดสูตรทั่วไป พบว่า ทุกสูตรมีประสิทธิภาพในการกำจัด เพลี้ยอ่อนถั่วฝักยาวสูงกว่าสูตรทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p-value<0.05) |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาการกำจัดเพลี้ยอ่อนถั่วฝักถั่วยาว โดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน |
|