การพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในจังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ (Reproductive is Potential Devenlopment to Promote AIDS Protection in Tambon Level in Songkhla Province by Using Community Participati

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เทพกร พิทยาภินันท์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2550

เลขหมู่: 

ว.616.9792 ท56ก

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ในการป้องกันเอดส์ในระดับตำบลในจังหวัดสงขลา กาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 15 - 45 ปี ในตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จำนวน 278 คน สุ่มตัวอย่างด้ยโดยวิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการอภิปรายกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์(Forcus group) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 4.61 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.57 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบเตคติเกี่ยวกับเรื่องเพศและเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 2.97 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.15 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าร่วมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบพฤติกรรมและทักษะในการป้องกันการติกเชื้อเอดส์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่า ก่อนการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ย 2.86 หลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.03 เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมและทักษะในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ก่อนและหลังการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายแกนนำหญิงวัยเจริญพันธุ์พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การดำเนินงานโดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพพบว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนโดยชุมชนคิดเอง ทำเอง บริหารจัดการเองโดยอาศัยองค์ความรู้และศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชนจึงทำให้กลุ่ม และกิจกรรมนั้นเกิดความยั่งยืนและสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง การนำรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ มาดำเนินงานพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในระดับตำบล ประสบความสำเร็จ เห็นได้จากเครือข่ายหญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์เพิ่มขึ้น

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การพัฒนาศักยภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในจังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ