การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าแกลบและเถ้าไม้ยางพารามาทดแทนปูนซีเมนต์สำหรับทำอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก (Feasibility Study of the Rice Husk Ash and the Rubber Tree Ash Replacing Cement in the Light Weight Concrete Blocks Production)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

รอซี ผิวดี, สมบัติ สุวรรณชาตรี, สุพัฒพงค์ วัฒนา

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว.620.14 ร17ก

รายละเอียด: 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าแกลบและเถ้าไม้ยางพารามาทดแทนปูนซีเมนต์ สำหรับทำอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมบัติและความเป็นไปได้ในการ นำเถ้าแกลบและเถ้าไม่ช้างพารามาทดแทนปูนซีเมนต์สำหรับทำอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก โดย อัตราส่วนระหว่างเถ้าแกลบ เถ้าไม้ยางพารา และเถ้าผสม (เถ้าแกลบต่อเถ้าไม้ยางพาราในอัตราส่วน 50:50) กับปูนซีเมนต์ 95.5, 9010, 85:15, 80-20, 75.25 และ 70:30 ซึ่งมีทั้งหมด 18 ชุดการทดลอง โดยทำการทดสอบกำลังต้านแรงอัด การดูดกลืนน้ำ ความชื้นและการเปลี่ยนแปลงความยาว ตาม มาตรฐาน มอก.58-2533 เรื่อง คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก พบว่ามี 5 ชุดการทดลองที่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐาน คือ CP1, CP2, CRP1, CR1 และ CP3 ซึ่งมีค่ากำลังต้านแรงอัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.32, 9.54, 9.96, 9.70 และ 9.50 เมกะพาสคาล ตามลำดับ การดูดกลืนน้ำมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.20, 5.52, 5.66, 5.90 และ 6.78 ตามลำดับ ความขึ้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 19.81, 20.25, 20.98, 12.55 และ 22.61 ตามลำดับ และการเปลี่ยนแปลงความยาวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.034, 0.035, 0.042, 0.042 และ 0.042 ตามลำดับ โดยพบว่าขุดการทดลอง CP1 (95.5) เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ผลการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตเบื้องต้น พบว่า ชุดทดลอง CP3 มีต้นทุนการผลิต มีต่ำสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.43 บาท/ก้อน แต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับราคาอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักใน ท้องตลาด ซึ่งมีราคา 4 บาท/ก้อน พบว่าอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักจากการทดลองมีราคาถูกกว่า 0.60 บาท/ก้อน จึงมีความเป็นไปได้ที่นำมาผลิตเป็นอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักเพื่อการพาณิชย์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เถ้าแกลบและเถ้าไม้ยางพารามาทดแทนปูนซีเมนต์สำหรับทำอิฐบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก