การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตะกอนดินประปาทดแทนดินลูกรังสำหรับผลิตอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก (The Feasibility Study of Using Sludge from Tap Water to Subbstitute Lateritic Soil for Non-Load-Bearing)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ชาญวิทย์ ชุ่มชื่น, รอซูล สุวรรณนะ

สำนักพิมพ์: 

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว.620.14 ช23ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้นำตะกอนดินประปาซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตน้ำประปามาทดแทน ดินลูกรังในการผลิตอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก เนื่องจากตะกอนดินประปามีองค์ประกอบ ของ SiO2 และ Algo, ซึ่งมีสมบัติเป็นวัสดุประสาน โดยมีอัตราส่วนของอิฐบล็อกที่ใช้ศึกษา คือ ปูนซีเมนต์,ทรายเดินลูกรัง 115.45 กำหนดอัตราส่วน มีสูตรควบคุม 1 สูตร คือ BO (100.0) เป็นสูตร ที่ไม่เติมตะกอนดินประปา และอัตราส่วนของดินลูกรังต่อตะกอนดินประปา คือ BS1 (95:5) BS2 (90:10) BS3 (85:15) BS4 (80:20) BS5 (75:25) และ BS6 (70:30) จากการศึกษา พบว่า สูตร BS1 BS2 BS3 และ BS4 การทดลองที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน 602/2547 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1505-2541 เฉพาะด้านการ เปลี่ยนแปลงความยาว เมื่อเปรียบเทียบด้วยสถิติแบบ T-test โดยนำ BS3 และ BS4 เทียบสูตร ควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) ดังนั้นจึง เลือกสูตร B53 (85:15) เป็นสูตรที่ดีที่สุด เนื่องจากมีค่าการดูดกลืนน้ำ 197.33:31.46 กิโลกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร (kg/m ) ค่าการเปลี่ยนแปลงความยาวมีค่าร้อยละ 0.0010t0.00 และค่าความต้าน แรงอัด 21.99%4.57 เมกะพาสคัล (MPa) ซึ่งมีน้ำหนักเบาและยังเป็นสูตรที่มีการใช้ตะกอนดินประปา ทดแทนดินลูกรังในปริมาณสูง เป็นผลให้มีต้นทุนการผลิตเบื้องต้นต่ำกว่าสูตรควบคุม 0.07 บาท/ก้อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาผลิตในเชิงพาณิชย์ปริมาณมาก สามารถประหยัดต้นทุนให้ผู้ผลิตและเป็น การส่งเสริมให้นำของเสียมาใช้ประโยชน์

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ตะกอนดินประปาทดแทนดินลูกรังสำหรับผลิตอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนัก