การวิเคราะห์คุณภาพน้ำแข็งเพื่อการบริโภคเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (Analysis of Ice Quality for Consuming in Songkhla Municipal, Muang Distric, Songkhla province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

เกศรินทร์ แก้วเมฆ, นัฏวีรา กลับศรีอ่อน

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2552

เลขหมู่: 

ว.621.58 ก58ก

รายละเอียด: 

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำแข็งเพื่อการบริโภคในเขตเทศบาลเมืองสงขลาทำการเก็บตัวอย่าง จากโรงน้ำแข็งแป๊ะแซ สงขลา จำกัด และโรงน้ำแข็งทีที่กิตติศักดิ์ เป็นเวลา 3 เดือน คือ เดือน กรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน พ.ศ. 2552 เพื่อศึกษาคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ จำนวน7 พารามิเตอร์ ได้แก่ ความขุ่น สภาพการนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งทั้งหมด ความกระด้าง ความเป็นกรด-ด่าง (pH) โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และอี โคไล ผลการศึกษาคุณภาพน้ำแข็งเพื่อการ บริโภคของโรงน้ำแข็งแป๊ะแซ สงขลา จำกัด และโรงน้ำแข็ง พี.ที.กิตติศักดิ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย ดังนี้ ก) ความขุ่นมีค่าเท่ากับ 0.69 และ 0.34 เอ็นที่ยู ตามลำดับ ข) สภาพการนำไฟฟ้า มีค่าเท่ากับ 19.36 และ 14.45 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตรดาบุลำดับ กา ค่าปริมาณของแข็งทั้งหมด มีคำเท่ากับ 151.0 และ 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ง) ไม่พบความกระด้างจากตัวอย่างน้ำแข็งที่นำมาวิเคราะห์ ทั้ง 2 โรงงาน จ) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71 และ7.6 ตามลำดับ 2)โคลิฟอร์ม แบคทีเรียพบว่ามีค่าน้อยกว่า 2.0100 มิลลิกรัม ทั้ง 2 โรงงาน และ ช) ตรวจไม่พบ อี.โคไล ทั้ง 2 โรงงาน เมื่อนำผลการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2527) พบว่ามีค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทุกพารามิเตอร์ ดังนั้น ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าน้ำแข็งทั้ง 2 โรงงาน มีคุณภาพเหมาะสมในการนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย และไม่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำแข็งเพื่อการบริโภคเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา