การศึกษาปริมาณการสะสมของตะกั่วในดินตะกอนบริเวณปากทะเลสาบสงขลา (The study contamination of lead in sediment at the entrance of Songkhla Lake)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นารีรัตน์ ณ ไทร, นิตินันต์ จันทร์คง

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 363.7384 น27ก

รายละเอียด: 

การศึกษาการปนเปื้อนของตะกั่ว (Pb ในดินตะกอนบริเวณปากทะเลสาบสงขลา โดยเก็บ และวิเคราะห์ตัวอย่างดินตะกอน จำนวน 10 จุด ในฤดูฝน ธันวาคม 2560) เก็บตัวอย่างด้วยแกรบ เพื่อศึกษาการสะสมของปริมาณตะกั่วที่สะสมในดินตะกอน ขนาดอนุภาค ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความ เป็นกรด-ด่าง และอินทรียวัตถุ ผลการศึกษาพบว่าดินตะกอนมีอนุภาคเป็นทรายแป้ง ยกเว้นบริเวณ ตอนบนใกล้ทางออกสู่อ่าวไทย (จุดที่ S1 และจุดที่ 57) มีลักษณะเป็นดินทราย ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วงปานกลางถึงด่างอ่อนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.14+0.48(918+0.01-7,40:0.02) ค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 2.83x2.51(0.14+0-7.98+0.13) ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร และมีปริมาณ อินทรียวัตถุต่ำเฉลี่ยร้อยละ 1.50+0.73(0.02 +0.05-2.2760) / ส่วนปริมาณตะกั่วในดินตะกอนมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.59+12.12(10.99+17.86-56.9845.14) มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดินแห้ง ซึ่งต่ำกว่า ค่ามาตรฐานคุณภาพดินตะกอนเล็กน้อยโดยไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.05) เมื่อใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ พบว่ามีปริมาณตะกั่ว สูงจะกระจายตัวบริเวณตอนกลางและล่างของปากทะเลสาบสงขลา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาปริมาณการสะสมของตะกั่วในดินตะกอนบริเวณปากทะเลสาบสงขลา