รายละเอียด: |
เถ้าลอยจากไม้ยางพาราเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ในกระบวนการ ผลิตไอน้ําของจากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลซึ่งมี SIDAIO, Fe,O, และ CaO ปริมาณมาก อาจทําให้ลด การเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานซึ่งสร้างความแข็งแรงแก่อิฐ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ในการนําเถ้าลอยจากโรงฟ้าชีวมวลแทนที่ดินลูกรังเพื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับ น้ําหนัก ด้วยอัตราส่วนโดยน้ําหนักร้อยละ 100,0(ชุดควบคุม), 95.5(BF1), 90.10(BF2), 85.15(BF3), 80-20BF4), 75.25(BE5) และ70-30(BF6) โดยออกแบบสัดส่วนของปูนซีเมนต์ ทราย ผสมดินลูกรังที่ 1.0-1.5.4.5 และบ่มในอากาศ 7 วัน ทดสอบลักษณะทั่วไป ความต้านแรงอัด การดูดกลืนน้ํา (ตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 60/2547) และการเปลี่ยนแปลงความยาว (ตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1505-2541)
ผลการศึกษาพบว่าอิฐบล็อกประสานที่ผสมเถ้าลอยในอัตราส่วน 95:5(BF1) มีค่าความต้าน แรงอัดสูงสุด 6.8140.71 MPa และต่ําสุดในอัตราส่วน 70.3NBF6) โดยยิ่งเพิ่มปริมาณส่วนผสมของเถ้า ลอยความต้านแรงอัดจะยิ่งลดลง นอกจากนี้ค่าการดูดกลืนน้ํา และการเปลี่ยนแปลงความยาวของอิฐ บล็อกประสานที่ผสมเถ้าลอยอัตราส่วน 70.30(BF6) มีค่าสูงสุด คือ 245.33:33.05 kg/m และ ร้อยละ 0.0037 +0.05 ตามลําดับ ซึ่งยิ่งเพิ่มปริมาณส่วนผสมของเถ้าลอยค่าการดูดกลืนน้ําและการเปลี่ยนแปลง ความยาวจะยิ่งเพิ่มขึ้น โดยอิฐบล็อกประสานขนิดไม่รับน้ําหนักอัตราส่วน 100,0(ชุดควบคุม), 95.5(BF 1), 90.10(BF2), 85.15(BE3) และ 80.20(BF4) เป็นไปตามมาตรฐานในทุกพารามิเตอร์ สําหรับต้นทุนการ ผลิตเบื้องต้นของอิฐบล็อกประสาน 80.2CBF4) มีต้นทุนการผลิตต่ําสุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.0167 บาท/ก้อน ซึ่งถูกกว่าราคาอิฐบล็อกประสานในท้องตลาดและหากนํามามีความเป็นไปได้ที่จะนํามาผลิตในเชิงพาณิชย์
|