การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกส้มโอ (Study on the fosssibility of the production of Charcoal briquettes from Pomelo peel)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ชนิกานต์ ทิศเมือง, สุกัญญา จันทร์บุญแก้ว

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 662.88 ช15ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกส้มโอ ซึ่งเป็นการ นําเอาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งโดยนําเอาเปลือก ส้มโอที่ตากแห้งมาเผาเป็นถ่านแล้วนําไปบดให้เป็นผงถ่านจากนั้นนําไปผสมกับกาวแป้งเปียกใน อัตราส่วน 1.0.0.5, 1.0.0.75) 1.0.1, 1.0-1.5 และ 1.0.2 แล้วนําไปอัดเป็นแท่งด้วยวิธีการอัดเย็นโดย ใช้เครื่องอัดแรงคน จากนั้นนําถ่านอัดแท่งจากเปลือกส้มโอที่ได้มาทดสอบลักษณะทั่วไป การบีบและ การตกกระแทก สมบัติต้านเชื้อเพลิง และประสิทธิภาพการใช้งาน ผลการศึกษา พบว่าถ่านอัดแท่ง จากเปลือกส้มโออัตราส่วน 1.0.1 ดีที่สุด ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ถ่านอัดแท่ง (มผช. 238/2547) เนื่องจากลักษณะทั่วไปของถ่านอัดแท่งมีรูปทรงเดียวกัน ขนาดใกล้เคียงกัน และมีสี ดําสม่ําเสมอ ไม่แตกหักจากการบีบและการตกกระแทก ส่วนการทดสอบสมบัติต้านเชื้อเพลิง พบว่า มี ปริมาณความขึ้นร้อยละ 4.83 ปริมาณสารระเหยร้อยละ 24.50 ปริมาณเถ้าร้อยละ 6.52 ปริมาณ คาร์บอนคงตัวร้อยละ 64.13 และค่าความร้อนร้อยละ 5,617.69 แคลอรี่ต่อกรัม สําหรับการทดสอบ ประสิทธิภาพการใช้งาน พบว่า มีประสิทธิภาพการใช้งานร้อยละ 18.70 เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านไม้ และถ่านอัดแท่ง (ซื้อจากตลาด) จะมีคุณสมบัติต้านเชื้อเพลิงและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ใกล้เคียง กัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเปลือกส้มโอมีความเป็นไปได้ในการผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง เพื่อทดแทนถ่านไม้ คอลลาเจนคมลอกกะขยะเหลือทิ้ง และเป็นทางเลือกด้านพลังงานใช้แทนก๊าซหุ้งต้ม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเปลือกส้มโอ