ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (Factors Related with Behavior Towards Using Herbal Medicine in Primary Health Care of Village Health Volunteer i

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

นวลพรรณ ทองคุปต์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2562

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การศึกษานี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นแบบสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างจำนวน 246 คน ทำการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่าระดับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.9 ระดับทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรในระดับไม่ดี ร้อยละ 41.1 ระดับช่องทางการได้มาของสมุนไพร ในงานสาธารณสุขมูลฐานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.6 ระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารต่อการใช้สมุนไพรในอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 37.4 และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 35.8 อาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ด้านช่องทางการได้มาของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ผลการศึกษาพบว่าช่องทางการได้มาของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับต่ำ การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนตัวแปรด้านอายุ เพศ ศาสนา สถานภาพ รายได้ การศึกษา ความรู้และทัศนคติ ต่อการใช้สมุนไพรไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)