องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดยะลา (Happiness Factors and Indicators of Public Health Staff Operation Working in Health Promoting Hospital Located in Yala Provinces.)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

มลฑิรา สายวารี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2563

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 300 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 84.0 มีอายุระหว่าง 30 - 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.7 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 77.3 นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 74.7 ส่วนใหญ่มีตำแหน่งในปัจจุบัน เป็นพยาบาลวิชาชีพ คิดเป็นร้อยละ 37.7 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.7 และส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานปัจจุบัน 10 – 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.3 ทั้งนี้พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลา มีองค์ประกอบได้ 8 องค์ประกอบ 47 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 สัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีตัวบ่งชี้จำนวน 10 ตัวบ่งชี้ 2) องค์ประกอบที่ 2 การคิดเชิงบวก มีตัวบ่งชี้จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบที่ 3 ความพึงพอใจในชีวิต มีตัวบ่งชี้จำนวน 7 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบที่ 4 การเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือ มีตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 5) องค์ประกอบที่ 5 ความพึงพอใจในงาน มีตัวบ่งชี้จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 6) องค์ประกอบที่ 6 ความพึงพอใจต่อผู้บังคับบัญชา มีตัวบ่งชี้จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ 7) องค์ประกอบที่ 7 ความสุขในการทำงาน มีตัวบ่งชี้จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และ 8) องค์ประกอบที่ 8 สัมพันธภาพระหว่างครอบครัว มีตัวบ่งชี้จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และทุกตัวบ่งชี้มีความเที่ยงตรงตามสภาพจริง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ = 0.05 (p - value < 0.001) จากผลการวิจัยที่ได้จะช่วยพัฒนาเครื่องมือวัดความสุข ในการทำงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งสร้างขวัญ และกำลังใจของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดยะลาต่อไป

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดยะลา