ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Effects of HighScope Activities and Educational Games on Analytical Thinking Abilities of Pre - school Children in Kindergarten 2)

ประเภท: 

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง: 

รุสนี เจะเตะ

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2562

เลขหมู่: 

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษา และศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเขาวัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 28 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมด 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคป ร่วมกับเกมการศึกษา จำนวน 20 แผน แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.57 - 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 - 0.53 มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษา โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย