การศึกษาปริมาณธาตุอาหารในน้ำคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา(The Study of Nutrient in Stream Water in Samrong Canal,Muang District, Songkhla Province.)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ภัทรันดา ราเหม,วันดี คุ้มเพชร

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว. 557.63 ภ114ก

รายละเอียด: 

คลองสำโรงเป็นแหล่งน้ำที่เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทยปัจจุบันมีชุมชนและอุสาหกรรมครัวเรือนเกี่ยวกับสัตว์น้ำหรือการแกะล้างสัตว์น้ำตั้งอยู่ตลอดแนวคลองซึ่งบางส่วนมีการระบายน้ำทิ้งลงสู่ลำคลองโดยตรงจึงส่งผลต่อคุณภาพน้ำการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามตรวจสอบปริมาณธาตุอาหารในน้ำคลองสำโรงพร้อมทั้งศึกษาสมบัติในด้านกายภาพและเคมีของน้ำเก็บตัวอย่างน้ำบนสะพานด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างน้ำ (water sample) และในพื้นที่น้ำตื้นเก็บแบบจ้วงรวมจำนวน 11 จุดเก็บโดยฤดูฝนเก็บตัวอย่างวันที่ 25 กันยายน 2560 และฤดูร้อนเก็บตัวอย่างวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำด้านกายภาพอุณหภูมิของน้ำคลองสำโรงในช่วงฤดูร้อนสูงกว่าฤดูฝนซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศ 31.77 และ 29.80 องศาเซลเซียสตามลำดับโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P <0.05) และในฤดูฝนมีตะกอนแขวนลอยสูงกว่าฤดูร้อน 41.82 และ 34.58 มิลลิกรัม / ลิตรตามลำดับซึ่งน้ำคลองสำโรงมีค่า pH เป็นกลาง แต่ค่า DO และ BOD ทั้งสองฤดูต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินซึ่งฤดูฝนมีค่าสูงกว่าโดยฤดูฝนมีค่าเฉลี่ย D0 และ BOD เท่ากับ 1.50 และ 111.00 มิลลิกรัม / ลิตรส่วนฤดูร้อนมีค่าเท่ากับ 0.56 และ 110.91 มิลลิกรัม / ลิตรตามลำดับสำหรับปริมาณธาตุอาหารในน้ำคลองสำโรงพบว่าฤดูฝนมีค่าเฉลี่ยไนโตรเจนแอมโมเนียไนโตรเจนไนเตรต-ไนโตรเจนและฟอสเฟสเท่ากับ 800 1.30 0.34 และ 3.59 มิลลิกรัม / ลิตรตามลำดับส่วนฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,363 4.30 8.06 และ 5.19 มิลลิกรัม / ลิตรตามลำดับการกระจายของธาตุอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาลพบว่าฤดูร้อนมีการสะสมธาตุอาหารสูงกว่าในเกือบทุกจุดเนื่องจากในน้ำมีอัตราการไหลของน้ำต่ำจึงเกิดการพัดพาของธาตุอาหารได้น้อยและมีการสะสมค่อนข้างสูงบริเวณปลายน้ำก่อนออกสู่ทะเลสาบสงขลาและเมื่อเปรียบเทียบค่ามาตรฐานน้ำผิวดินพบว่าปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนเกินค่ามาตรฐาน

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาปริมาณธาตุอาหารในน้ำคลองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา