การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาแนวทางการกำหนดเส้นทางจักรยานของชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว(A case study process development of the bicycle community design in Municipality Songkhla to promote)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

โชติพงษ์ บุญฤทธิ์, อมรรัตน์ บุญสว่าง, พงศกร จงรักษ์

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2557

เลขหมู่: 

ว. 388.12 ช84ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาเส้นทางจักรยานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาโดยกระบวนการมีส่วนร่วม” เป็นการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการใช้เส้นทางจักรยานต้นแบบเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวที่ชุมชนต้องการและนำเสนอรูปแบบเส้นทางจักรยานสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาในรูปของอินโฟกราฟิก (Infographic) และสารคดีเพื่อนำไปสู่การศึกษาความพึงพอใจที่นักท่องเที่ยวมีต่อต้นแบบเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการสำรวจการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และนำมาสรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะของงานวิจัยจากการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาและพฤติกรรมการใช้เส้นทางจักรยานในเขตเทศบาลนครสงขลานั้นนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่มีปัญหาความไม่ปลอดภัยของเส้นทางจักรยานมากที่สุดรองลงมามีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ต่อเนื่องของเส้นทางจักรยานความไม่ชัดเจนของป้ายบอกทางเส้นทางจักรยานสภาพพื้นผิวถนนไม่เหมาะสำหรับการปั่นจักรยานมีสิ่งรบกวนบรรยากาศบ้างเล็กน้อยส่วนสภาพอากาศไม่เหมาะสำหรับการปั่นจักรยานและเส้นทางการปั่นจักรยานไม่มีความดึงดูดใจเป็นปัญหาที่อยู่ในระดับเล็กน้อยที่สุดการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ ณ จุดจอดพักคือการพูดคุยรองลงมาคือการถ่ายรูปและการรับประทานอาหาร 2) การศึกษาต้นแบบเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวที่ชุมชนต้องการโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า พ.ศ. 2559 จังหวัดสงขลามีนโยบาย" สงขลามหาสนุก "สนับสนุนปั่นจักรยานสนุกได้ทั้งปีในด้านการจัดการควรมีบุคลากรที่สนับสนุนด้านการท่องเที่ยวด้วยจักรยานโครงสร้างพื้นฐานเลนจักรยานป้ายชี้ทางและควรมีกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้แหล่งท่องเที่ยวด้วยในส่วนของภาคธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมควรให้ความสะดวกเกี่ยวกับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับที่พักอาหารและให้ข้อมูลเส้นทางการปั่นเข้าถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากขึ้น 3) การนำเสนอข้อมูลรูปแบบเส้นทางจักรยานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาซึ่งได้จากการศึกษาปัญหาและต้นแบบเส้นทางจักรยานที่ชุมชนต้องการประกอบด้วยการนำเสนอข้อมูลดังนี้คือแผนภาพอินโฟกราฟิก (Infographic) เส้นทางจักรยาน 3 เส้นทาง ได้แก่ (1) บ้านป๋าเปรม-สวนสองทะเล-ศาลาไท, (2) บ้านป๋าเปรม-หาดชลาทัศน์-เก้าเส้ง-ถนนไทรบุรี, (3) บ้านป่าเปรม-ถนนนางงาม-ถนนนครใน-ถนนนครนอกและสารคดี“ Let's Ride in Songkhla” 4) การศึกษาความพึงพอใจที่นักท่องเที่ยวมีต่อต้นแบบเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสงขลาพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านความแตกต่างทางลักษณะภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมมากที่สุดรองลงมาคือสถานที่ตั้งซึ่งอยู่ติดกับทะเลอ่าวไทย มีแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆทางการท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงจุดหมายปลายทางด้วยยานพาหนะประเภทต่างๆสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อดึงดูดใจกลุ่มนักท่องเที่ยวมากขึ้น ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ต้องกระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างทั่วถึงและปรับปรุงภาพลักษณ์ที่ดีในสายตานักท่องเที่ยวต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ที่มีประสิทธิภาพโดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจเส้นทางจักรยานในระดับมาก (4.04)

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมพัฒนาแนวทางการกำหนดเส้นทางจักรยานของชุมชนในพื้นที่เขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว