พฤติกรรมการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (The Part-time Jobs of Undergraduate Students, Songkhla Rajabhat University

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

จารุเดช นะสุย

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.378.365 จ27พ

รายละเอียด: 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นักศึกษาที่ทำงานพิเศษระหว่างเรียน จำนวน 100 คน ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น การศึกษาได้วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยวิธี T-test, ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยต่างๆ และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวแปรกลุ่ม (Nomial) ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกทำงานพิเศษระหว่างเรียนเพราะรายได้ที่ได้รับไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย รองลงมาคือ ทำตามเพื่อน/เพื่อนชวน ส่วนประเภทของงานพิเศษที่นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกทำคือ สถานบันเทิง/สถานที่ท่องเที่ยวตอนกลางคืน คิดเป็นร้อยละ 22.0 รองลงมาคือ ร้านนม/ร้านกาแฟ/ร้านเบเกอรี่ คิดเป็นร้อยละ 21.0 และร้านอาหาร Fastfood/แฟรนไซส์ และร้านสะดวกซื้อ คิดเป็นร้อยละ 11.0 รายได้ที่ได้รับจากการทำงานพิเศษระหว่างเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 4,805 บาท/เดือน และนักศึกษาส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าการทำงานพิเศษระหว่างเรียนมีผลกระทบทั้งด้านการเรียนและด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 77.0 ในขณะที่กลุ่มนักศึกษาอีกร้อยละ 23.0 มองว่าการทำงานพิเศษระหว่างเรียนไม่ส่งผล ทำให้มีเวลาในการพักผ่อนน้อยลง รองลงมาคือทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนและมีเวลาในการร่วมกิจกรรมในสถานศึกษาน้อยลง โดยที่ค่าเฉลี่ยของรายได้ที่ได้รับจากการทำงานระหว่างเรียนของนักศึกษา แบ่งตามกลุ่มต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกันและเพศ เกรดเฉลี่ยของนักศึกษาและประเภทงานที่นักศึกษาเลือกทำ มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษา

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

พฤติกรรมการทำงานพิเศษระหว่างเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา