การเปรียบเทียบการย่อยสลายทางชีวภาพของแผ่นพาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งสาคู (The Comparison of Biodegradability of Bioplastic Films from Cassava Starch and Sago Starch)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ชนกชนม์ แสงจันทร์, ดวงฤทัย เขมะไชเวช

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.668.4 ช15ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการย่อยสลายทางชีวภาพของฟิล์มพลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งสาคู มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาในการย่อยสลายและศึกษาหาปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการย่อยสลายทางชีวภาพของฟิล์มพลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะเตรียมพลาสติกชีวภาพในรูปแผ่นฟิล์มโดยใช้เทคนิคสารละลาย การย่อยสลายทางชีวภาพจึงถูกพิจารณาในการกำหนดระดับการย่อยสลายและอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพแบบใช้ออกซิเจนต่อการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการที่ดัดแปลงมาจาก ASTM D5538-98 จากการศึกษาพบว่าแป้งมันสำปะหลังมีระยะเวลาในการย่อยสลายตัวได้น้อยและมีอัตราการย่อยสลายสูงกว่าแป้งสาคู เนื่องจากปริมาณอะไมโลสเป็นโครงสร้างที่เป็นโซ่ตรง ถ้ามีปริมาณอะไมโลสน้อยจะย่อยสลายได้เร็ว และมีปริมาณอะไมโลสมากจะย่อยสลายได้ช้า ซึ่งจะสอดคล้องกับปริมาณอะไมโลสที่น้อยกว่าของแป้งมันสำปะหลังและมากกว่าของแป้งสาคู ผลการวิจัยนี้ยังสามารถทำนายระยะเวลาในการใช้ประโยชน์ของฟิล์มพลาสติกชีวภาพได้

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การเปรียบเทียบการย่อยสลายทางชีวภาพของแผ่นพาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังและแป้งสาคู