การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นอัดฉนวนกันความร้อนจากชานอ้อย ( Feasibility study on the production of thermal insulating sheet from bagasse)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

มูนีเราะห์ มะสาแม,อัซมา หลงมิหนา

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว.674.83 ม415ก

รายละเอียด: 

จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นอัดฉนวนกันความร้อนจากชานอ้อย ที่อัตราส่วนชานอ้อยต่อวัสดุประสาน 50:50 40:60 30:70 และ 20:80 พบว่า ลักษณะทั่วไปของแผ่นอัดฉนวนกัน ความร้อนที่อัตราส่วน 40:60 และอัตราส่วน 30:70 มีความเรียบสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแผ่น ขอบตั้งได้ ฉากกับระนาบผิวการทดสอบ เมื่อนําไปทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกล โดยเปรียบเทียบ กับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547) พบว่า ที่อัตราส่วน 40:60 ค่าความหนาแน่น 415.60 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และการพองตัวตามความ หนาร้อยละ 7.21 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.8762547) ส่วนที่อัตราส่วน 30:70 ค่าการพองตัวตามความหนาร้อยละ 9.76 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดอัดราบ (มอก.876-2547) สําหรับค่าการนําความร้อนของ แผ่นอัดฉนวนกันความร้อนจากชานอ้อย ที่อัตราส่วน 40:60 และ 30:70 มีค่าการนําความร้อนเท่ากับ 0.13 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน และ 0.11 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าการนําความ ร้อนของแผ่นไม้อัดวัสดุตามท้องตลาดมีค่าการนําความร้อนอยู่ที่ 0.123 วัตต์ต่อเมตรเคลวิน จะเห็นได้ ว่ามีค่าใกล้เคียงกันกับแผ่นอัดฉนวนกันความร้อนจากชานอ้อย ทั้ง 2 อัตราส่วน เมื่อพิจารณาลักษณะ ทั่วไป และคุณสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกล พบว่า อัตราส่วน 40:60 มีคุณสมบัติที่ดีกว่า อัตราส่วน 30.70 ผลจากงานวิจัยนี้แสดงว่ามีความเป็นไปได้ในการนําชานอ้อยมาผลิตแผ่นอัดฉนวน กันความร้อน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและได้วัสดุที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตแผ่นอัดฉนวนกันความร้อนจากชานอ้อย