รายละเอียด: |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่จอกสามารถเจริญเติบโตในน้ำที่ปนเปื้อนด้วย AgNPs และศึกษาประสิทธิภาพในการบําบัดน้ำที่ปนเปื้อน AgNPs โดยจอก ซึ่งใช้ AgNPs 2 ขนาด คือ ขนาด 7 และ 50 นาโนเมตร ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น คือ 0.5, 1 และ 2 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยทําการวิเคราะห์ความเข้มข้นของ AgNPs, pH ในตัวอย่างน้ำ, วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของ จอก (สังเกตสีใบ และลักษณะทั่วไป) และปริมาณคลอโรฟิลล์ในจอก หลังจากเก็บตัวอย่างน้ำและจอก ที่เวลา 0, 1, 2, 4, 6, 12, 24 และ 48 ชั่วโมง พบว่า เมื่อระยะเวลาผ่านไป ปริมาณ AqNPs ในน้ำลดลง และเมื่อความเข้มข้นของ AgNPs เพิ่มขึ้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ในจอกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ ความสามารถในการสังเคราะห์ด้วยแสงของจอกลดลง ทําให้จอกตายในที่สุด และพบว่าจอกตาย หลังจากเลี้ยงใน AgNPs ที่ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยจอกที่ได้รับ AgNPs ขนาด 7 นาโน เมตร (ตายที่ 24 ชั่วโมง) จะตายเร็วกว่าจอกที่ได้รับ AgNPs ขนาด 50 นาโนเมตร (ตายที่ 48 ชั่วโมง) จอกมีประสิทธิภาพในการบําบัดน้ำที่ปนเปื้อนด้วย AgNPs ขนาด 7 นาโนเมตรได้ดี ที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่ AgNPs ขนาด 50 นาโนเมตร จอกบําบัดได้ดี ที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า AgNPs มีความเป็นพิษ และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของ จอก โดยขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาค ความเข้มข้น และระยะเวลาที่ได้รับ |