การลดสารอินทรีย์ตั้งต้นที่มีผลต่อการเกิดสารก่อมะเร็งในน้ำดิบประปาโดยไคโตซานและสารส้ม (Removal of organic substrate which effect to DBPs in raw water supply by chitosan and alum)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

พัชรี ขุนยงค์, เสาวลักษณ์ พุทธรักษา

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.363.616 พ112ก

รายละเอียด: 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานที่ใช้เป็นสารโคแอกกูแลนท์โดยใช้ร่วมกับสารละลายสารส้มในการกําจัดความขุ่น และสารอินทรีย์ในรูป UV-254 และ TOC ด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชัน โดยการใช้ (1) สารส้มเพียงอย่างเดียว (2) สารส้มร่วมกับไคโตซาน ซึ่งเติมไคโตซานพร้อมกับสารส้ม และ (3) สารส้มร่วมกับไคโตซาน ซึ่งเติมไคโตซานหลังจากกวนเร็ว โดยทําการเก็บน้ำตัวอย่างจากจุดสูบน้ำดิบ การประปาส่วนภูมิภาค อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งน้ำดิบประปาจะมีค่าความขุ่น เท่ากับ 21.6 NTU ค่า UV-254 เท่ากับ 0.215 cm และ TOC เท่ากับ 7.00 mg/L จากผลการศึกษา พบว่า (1) ศึกษาปริมาณสารส้ม และpH ที่เหมาะสมในน้ำดิบประปา สภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการโคแอกกูเลชันของน้ำดิบประปาจากคลองอู่ตะเภา มี ค่าสารส้มประมาณ 50 mg/L ค่า pH เท่ากับ 6 มีประสิทธิภาพในการกําจัดความขุ่น UV-254 และ TOC ได้ 89 53 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ (2) ศึกษาประมาณไคโตซานร่วมกับสารส้มในน้ำดิบประปา โดยเติมไคโตซานพร้อมกับสารส้ม พบว่า ปริมาณสารส้ม 50 mg/L ที่ pH 6 ร่วมกับไคโต ซาน 2 ml มuประสิทธิภาพในการกําจัดความขุ่น UV-254 และ TOC ได้ 78 50 และ 41 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ (3) ศึกษาปริมาณไคโตซานร่วมกับสารส้มในน้ำดิบประปา โดยเติมไคโตซานหลังจากกวนเร็ว พบว่า ปริมาณสารส้ม 50 mg/L ที่ pH 6 ร่วมกับไคโตซาน 2 ml มีประสิทธิภาพในการกําจัดความขุ่น UV-254 และ TOC ได้ 94 55 และ 54 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ซึ่งกระบวนการโคแอกกูเลชันดังกล่าวเป็นสภาวะที่ให้ประสิทธิภาพในการกําจัดความขุ่น UV-254 และ TOC ได้ดีที่สุด รวมทั้ง เมื่อเปรียบเทียบค่าความขุ่น UV-254 และ TOC ของ 3 ชุดการทดลองด้วยวิธีการทางสถิติแบบ F-Test (ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า มีค่าเฉลี่ยของค่าความขุ่น UV-254 และ TOC ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (Sig <0.05) งานวิจัยขั้นต่อไปต้องทําการศึกษา ประสิทธิภาพในการกําจัดสารอินทรีย์ด้วยไคโตซานร่วมกับสารส้มในฤดูฝน ท้ายที่สุดการกําจัดท้ายที่สุดการกําจัดสารอินทรีย์ในน้ำดิบจากคลองอู่ตะเภาเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในการลดโอกาสเสี่ยง ต่อการได้รับสารก่อมะเร็งในมนุษย์อีกด้วย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การลดสารอินทรีย์ตั้งต้นที่มีผลต่อการเกิดสารก่อมะเร็งในน้ำดิบประปาโดยไคโตซานและสารส้ม (Removal of organic substrate which effect to DBPs in raw water supply by chitosan and alum)