การศึกษาการจัดการมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี (The Solid Waste Management of Mayor Sub-district Municipality, Mayor District, Pattani Province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

บุศรารัตน์ นารีเปน, อามีน มูเซะ, อามีเนาะ ตาเละ

สำนักพิมพ์: 

โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2556

เลขหมู่: 

ว.363.728 บ48ก

รายละเอียด: 

การศึกษาการจัดการมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตําบลมายอ อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการมูลฝอยชุมชน ศึกษาลักษณะมูลฝอย ทางกายภาพและศึกษาหาแนวทางการใช้ประโยชน์ของมูลฝอยของเทศบาลตําบลมายอ อําเภอมายอ จังหวัดปัตตานีผลการศึกษาด้านการจัดการมูลฝอยชุมชน พบว่า มีปริมาณมูลฝอย 1,505.33 กิโลกรัม/วัน มี ภาชนะรองรับมูลฝอย ขนาด 120 ลิตร จํานวน 687 ใบ มีรถบริการเก็บขยะ 2 คัน คือ รถบรรทุกขยะ แบบมาตรฐานเปิดข้างเทท้าย วิธีการกําจัดมูลฝอยของเทศบาล คือ การเทกองกลางแจ้งแล้วเผา จาก การศึกษามูลฝอยของเทศบาลตําบลมายอ พบว่า องค์ประกอบของมูลฝอยที่สามารถนํากลับมาใช้ ใหม่ได้คิดเป็น 58.69% ได้แก่ เศษไม้/ใบไม้ 16.91%, แก้ว 14.82%, เศษอาหาร 14.15%, อลูมิเนียม 12.37%, ถุงพลาสติก 11.21%, พลาสติก 9.20% ตามลําดับ มูลฝอยที่ไม่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ คิดเป็น 41.31%ได้แก่ โฟม 4.14%,และอื่นๆ 37.17% ได้แก่ อิฐ กระเบื้อง เปลือกหอยและผ้า จากการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการมูลฝอย มีข้อเสนอแนะให้ทางเทศบาลตําบล มายอ นําไปปรับปรุง คือ การลดค่าธรรมเนียมในการเก็บรวบรวมมูลฝอย การเปลี่ยนช่วงเวลาเก็บ ขนมูลฝอย โดยเริ่มจากเวลา 05.00 น. เพิ่มวันในการเก็บมูลฝอย จากเดิม 2วัน เป็น3วันต่อสัปดาห์ และทางเทศบาลควรมีการประชาสัมพันธ์สม่ําเสมอ เรื่อง การจัดการขยะ เปิดโอกาสให้ประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านขยะมูลฝอย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาการจัดการมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี (The Solid Waste Management of Mayor Sub-district Municipality, Mayor District, Pattani Province)