ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
รอหนา เปรมใจ, รัตนา กาสันต์, สุชาดา สยามมล |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว 363.7394 ร19ก |
|
รายละเอียด: |
การตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกสารอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดในแหล่งน้ําตลาดน้ําคลอง แห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นการศึกษาคุณภาพน้ําทางด้านเคมี เก็บตัวอย่างน้ําจากบริเวณโดยรอบ ตลาดน้ํา จํานวน 5 จุด โดยทําการเก็บน้ําตัวอย่าง 2 ครั้ง ทั้งวันที่มีตลาดน้ําและวันที่ไม่มีตลาดน้ํา จากการศึกษา พบว่า มีค่า COD TOC แอมโมเนีย ในไตรต์ ไนเตรตและTKN อยู่ในช่วง 24.00-81.60 mg/A7.80-8.58 mg/A 0.0370-0.1380 mg/1 0.0020-0.0037 mg/1 0.9360-1.1070 mg/L 12.60 -19.46 mg/l ตามลําดับ (วันที่มีตลาดน้ํา) และมีค่า COD TOC แอมโมเนีย ในไตรต์ ไนเตรตและ TKN อยู่ในช่วง 60.00-79.20 mg/A 8.48.9.20 mry\ 0.0220-01480 mg/L 0.0050-0.0074 mg/L 1.1320-1.1710 mg/11.62-20.16 mg/L ตามลําดับ (วันที่ไม่มีตลาดน้ํา) เมื่อทําการวิเคราะห์พบว่า น้ําที่ไหลผ่านจุด S, มีค่าที่สูงขึ้นในจุด S5 มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจนในรูป COD/TKN และ TOC/TN เท่ากับ 5.491 และ 0.5372 (วันที่มีตลาดน้ํา) 4,642 และ 0.5366 (วันที่ไม่มีตลาดน้ํา) อาจ จะเป็นไปได้ว่าเมื่อน้ําไหลผ่านจุดที่มีกิจกรรมจากตลาดน้ํา(S.) มีผลในการเพิ่มปริมาณภาระบรรทุก สารอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดลงสู่คลองแหและยังพบว่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อในโตรเจนยังมีค่าที่ ต่ํากว่าเกณฑ์ นั่นแสดงว่ามีไนโตรเจนในปริมาณที่สูง ซึ่งเมื่อแหล่งน้ํามีธาตุอาหารจําพวกนี้อยู่ใน ปริมาณที่สูงแล้วจะทําให้มีพืชน้ําเจริญเติบโตเป็นจํานวนมาก เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดปรากฏการณ์ยู โทรฟิเคชั่นและเป็นสาเหตุที่ทําให้น้ําในคลองแหเกิดการเน่าเสียได้ในที่สุด สิ่งที่ควรจะศึกษาต่อไปคือ ทําการศึกษาภาระบรรทุกสารอินทรีย์และไนโตรเจนในฤดูฝนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเข้า มาติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ําในคลองแหอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกัน แก้ไข และปรับปรุงคุณภาพน้ําต่อไป คําสําคัญ สารอินทรีย์ ไนโตรเจน ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ ตลาดน้ําคลองแห |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การตรวจสอบปริมาณภาระบรรทุกสารอินทรีย์และไนโตรเจนทั้งหมดในแหล่งน้ำตลาดน้ำคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา |
|