ปริมาณและองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยหาด กรณีศึกษา : หาดทรายแก้ว อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา(Quantity and physical characteristics of marine debris, case study : Sai Kaew beach< Singhanakhon district, Songkhla province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นันทนี แก้วยอด, สรัณญา หมวกทอง

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 363.728 น115ป

รายละเอียด: 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอย ชายหาด บริเวณหาดทรายแก้ว อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา พื้นที่ในการศึกษามีระยะทาง 3.56 กิโลเมตร ทําการเก็บตัวอย่างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เก็บตัวอย่างทั้งหมด 6 ครั้ง จากการศึกษาพบว่ามีปริมาณมูลฝอยชายหาดทรายทั้งหมด 70.80 กิโลกรัม/226.08 ตารางเมตร ปริมาณมูลฝอยชายหาดเฉลี่ย 11.80 กิโลกรัม/ครั้ง และมีความหนาแน่นของมูลฝอยเฉลี่ย 0.636 กิโลกรัม/ลิตร องค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยชายหาดที่พบมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ พลาสติก (ร้อยละ 26.00) รองลงมาคือ แก้ว (ร้อยละ 19.60) โฟม (ร้อยละ 18.45) และมูลฝอย อันตราย (ร้อยละ 18.45) ตามลําดับ และจากการศึกษาประเภทพลาสติกของมูลฝอยชายหาดพบ พลาสติกประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟธาเลท (PET) มากที่สุด (ร้อยละ 22) รองลงมา คือ ประเภท พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) (ร้อยละ 17) ตามลําดับ คําสําคัญ: มูลฝอยชายหาด ปริมาณมูลฝอยขายหาด องค์ประกอบทางกายภาพ หาดทรายแก้ว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปริมาณและองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยหาด กรณีศึกษา : หาดทรายแก้ว อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา