ปริมาณและประเภทมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปี พ.ศ.2560(The quantity and characteristic of hazardous waste in Songkhla Rajabhat university in)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

นิรมล หมวกแก้ว, สุทธิรัตน์ รัตนสำเนียง

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2561

เลขหมู่: 

ว 363.728 น37ป

รายละเอียด: 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและประเภทมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา โดยเก็บข้อมูลปริมาณและประเภทมูลฝอยอันตรายสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน กันยายน ตุลาคม 2560 ในแต่ละสัปดาห์เลือกสุ่ม วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) 2 วัน และเลือกสุ่ม วันหยุดราชการ (เสาร์-อาทิตย์) 1 วัน รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง จากการศึกษาพบว่ามีมูลฝอยทั้งหมด 3,600 กิโลกรัม และมีมูลฝอยอันตรายทั้งหมด 34.20 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของมูลฝอยทั้งหมด โดย ประเภทของมูลฝอยอันตรายที่พบมากที่สุดได้แก่ กระป๋องสีและสารกําจัดแมลง 8.40 กิโลกรัม คิต เป็นร้อยละ 25 รองลงมาได้แก่ ผ้าอ้อมสําเร็จรูปและผ้าอนามัย 7.10 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 21 สายไฟฟ้า 3.70 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 11 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 3.20 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 9 ขวดน้ํายาล้างห้องน้ํา 2.80 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 8 ขวดน้ํายาซักผ้าขาว 1.90 กิโลกรัม คิดเป็นร้อย ละ 5 ถ่านไฟฉาย 1.90 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 6 ไฟแช็ค 1,50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 4 ปากกา และปากกาเคมี 1.50 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 4 หลอดฟลูออเรสเซนต์ 1.30 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 4 และน้อยที่สุดได้แก่ ภาชนะบรรจุสารเคมี 0.90 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3 แหล่งกําเนิดมูลฝอย ที่ พบมูลฝอยอันตรายมากที่สุด คือ อาคารเรียน คณะศิลปกรรมศาสตร์) พบมูลฝอยอันตรายประเภท กระป๋องสีและสารกําจัดแมลง มากที่สุด สําหรับแหล่งกําเนิดมูลฝอยที่บ้านพักและหอพักนักศึกษา พบ มูลฝอยอันตรายประเภท ผ้าอนามัย ขวดบรรจุสารกําจัดแมลง สายไฟฟ้า และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สําหรับแหล่งกําเนิดมูลฝอยโรงอาหารและสถานที่นันทนาการ ไม่พบมูลฝอยอันตราย

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ปริมาณและประเภทมูลฝอยอันตรายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา