การศึกษาปริมาณตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน บริเวณพื้นที่ปลูกยางพารา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา( The Study of Lead Contaminations in Para-rubber Plantation Soil at Thungtomsao Subdistrict, Hat Yai Didtrict, Songkhla Province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

พิชญภัค สุวรรณเปี่ยม, ศุวิกร แซ่หลิง

สำนักพิมพ์: 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว 363.7396 พ32ก

รายละเอียด: 

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปนเปื้อนตะกั่ว รวมถึงศึกษาสมบัติ บางประการของดินชั้นบน (0-15 ซม) สุ่มเก็บตัวอย่างทุกๆ 2 ตารางกิโลเมตร ลักษณะธรณีสัณฐาน แบบแบบที่ราบลุ่มตะกอนลําน้ําในพื้นที่ปลูกยางพาราอายุ 7-14 ปี จํานวน 12 จุด และอายุมากกกว่า 14-20 ปี จํานวน 12 จุด บริเวณตําบลทุ่งตําเสา อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ดินในพื้นที่ศึกษามีลักษณะเป็นดินเนื้อปานกลาง พื้นที่ปลูกยางพาราอายุ 7-14 ปี ดินมีลักษณะเป็น กรตรุนแรงมากถึงกรดปานกลาง (3.94+0.01-6.09:0.15) ร้อยละ 79.17 อยู่ในช่วง pH ที่เหมาะต่อ การปลูกยางพารา ปริมาณอินทรียวัตถุ และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ มีค่าร้อยละ 1.76+0.41 (1,27+0.15-2.43+0.05) และ 19.85+4.63 (14.37 +0.01- 30.01 +0.04) mg-P/kg ซึ่งจัดอยู่ในช่วง ที่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา สําหรับพื้นที่ปลูกยางพารา อายุมากกว่า 14-20 ปี ดินมีลักษณะ เป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (4.56+0.07-5.24+0.02) ปริมาณอินทรียวัตถุ และฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ มีค่าร้อยละ 1.76+0.41 (1.27+0.15-2.43+0.05) และ 19.85*4.63 (14.37 +0.01 - 30.01+0.04) mg-P/kg ซึ่งจัดอยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับกับการปลูกยางพารา การปนเปื้อนตะกั่วในดินที่พบ มีระดับต่ํากว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมของกรมควบคุมมลพิษ (2541) โดยในพื้นที่ปลูกยางพารา 7-14 ปี พบ 1 จุด (2.60 mg/kg) และดินในพื้นที่ปลูกยางพาราอายุมากกว่า 14-20 ปี พบ 7 จุด (0.61 - 15.69 mg/kg) ซึ่งมีแนวโน้มการสะสมของตะกั่วสูงขึ้น จึงอาจส่งต่อระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การศึกษาปริมาณตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน บริเวณพื้นที่ปลูกยางพารา ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา