การศึกษาปริมาณและชนิดของมูลฝอยในพื้นที่แหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา(The study of Quantity and Types of Solid Wastes on Chalatat Beach, Songkhla Province)
|
ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
ผู้แต่ง: |
มณิสรา เลื่อนนก, วรรษมล ฤทธิ์ไพโรจน์ |
สำนักพิมพ์: |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2559 |
เลขหมู่: |
ว 363.728 ม14ก |
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปริมาณและชนิดมูลฝอยที่เกิดในปัจจุบันของแหลมสมิ หลา และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการบริเวณแหลมสมิหลา ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2559 โดยการเก็บข้อมูลปริมาณและชนิดมูลฝอย 2 ช่วง คือ วัน ธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) วันหยุดราชการ (เสาร์-อาทิตย์) เป็นเวลา 2 สัปดาห์ บริเวณบ้านเก้าเส้ง บริเวณลานวัฒนธรรม บริเวณหาดชลาทัศน์ บริเวณเก้าอี้ดํา และบริเวณวงเวียนหาดชลาทัศน์ ผล การศึกษาพบว่า ในช่วงวันหยุดจะมีปริมาณมูลฝอยมากกว่าวันธรรมดา มีความหนาแน่นของมูลฝอย เฉลี่ย 0.05 กิโลกรัม/ลิตร มีอัตราการเกิดมูลฝอยของนักท่องเที่ยวเท่ากับ 1.43 กิโลกรัม/คน/วัน มูล ฝอยส่วนใหญ่เป็นประเภทเศษอาหาร (55.44%) รองลงมาคือพลาสติก (11.29%) ในการจัดแบ่ง ประเภทมูลฝอยมีมูลฝอยอินทรีย์มากที่สุด (6556) รองลงมาคือมูลฝอยรีไซเคิล (18.58%)
สําหรับการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยของนักท่องเที่ยว โดยเก็บข้อมูลจาก นักท่องเที่ยว จํานวน 400 คน และจากผู้ประกอบการทั้งหมด พบว่าส่วนใหญ่มีการเตรียมภาชนะใส่ มูลฝอย (57.00%) ไม่มีการแยกมูลฝอยก่อนทิ้ง (75.50%) มีการเก็บรวบรวมมูลฝอยที่เหลือจากการ ทําอาหารที่เป็นมูลฝอยเปียกโดยใส่ในถุงและมัดปากถุงเรียบร้อยก่อนนําไปทิ้ง (75.00%) ไม่มีการเก็บ รวบรวมขวดแก้วและเศษแก้วใส่ถุงแยกจากมูลฝอยชนิดอื่นก่อนทิ้ง (75.00%) ไม่มีการนําเศษอาหาร กลับไปเลี้ยงสัตว์ (92.50%) และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ทํามูลฝอยให้มีขนาดเล็กลงก่อนนําไปทิ้ง (75.00%)
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยของผู้ประกอบการ โดยเก็บข้อมูลจาก ผู้ประกอบการทั้งหมดจํานวน 50 ร้าน ซึ่งพบว่า มีร้านขายอาหารแตกต่างกันออกไป ประเภทร้านที่ ขายมากที่สุดคือรถขายของเคลื่อนที่ (52.00%) ผู้ประกอบการมีวิธีการกําจัดมูลฝอย 2 ส่วน คือ ส่วน แรกทางร้านกําจัดมูลฝอยเองซึ่งมีการทําได้หลายวิธี เช่น ขายมีมากที่สุด (58.33%) และส่วนที่สองส่ง กําจัดกับทางเทศบาลโดยการใส่ถุงดํา แต่ส่วนใหญ่ทางร้านไม่ได้แยกมูลฝอยที่เป็นอันตรายออกจากมูล ฝอยทั่วไป แต่จะทําให้มูลฝอยมีขนาดเล็กก่อนนําไปทิ้งถัง
การศึกษาชนิดและปริมาณมูลฝอย องค์ประกอบที่มากที่สุด คือ เศษอาหารสอดคล้องกับการ จัดแบ่งประเภทมูลฝอยตามการนําไปใช้ประโยชน์ที่มีมูลฝอยอินทรีย์มาก พบมากถึง 65.76% ของ ปริมาณมูลฝอยทั้งหมด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพย์ติกรรมการทิ้งของผู้ประกอบการในเรื่องลักษณะ มูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละร้านพบว่ามีเศษอาหารมากที่สุดเช่นกัน และการกําจัดมูลฝอยของ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่ได้นําเศษอาหารกลับไปเลี้ยงสัตว์ นั่นหมายความว่าส่วนใหญ่ทิ้งเศษอาหารใน พื้นที่ จึงมีความสัมพันธ์กับชนิดของมูลฝอยที่มีองค์ประกอบเป็นเศษอาหารมากที่สุด
คําสําคัญ : มูลฝอย นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาปริมาณและชนิดของมูลฝอยในพื้นที่แหลมสมิหรา จังหวัดสงขลา(The study of Quantity and Types of Solid Wastes on Chalatat Beach, Songkhla Province)
|
|
|