ประเภท: |
โครงงานนักศึกษา |
|
ผู้แต่ง: |
ซารีฟา หะยีสือแม, บุษรา ดาหลี, ฟุรกอน หมีนคลาน |
|
สำนักพิมพ์: |
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
|
ปีที่พิมพ์: |
2556 |
|
เลขหมู่: |
ว 336.7394 ซ27ก |
|
รายละเอียด: |
การศึกษาปริมาณน้ำมันในดินตะกอนบริเวณปากทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา โดยเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างดินตะกอน จำนวน 11 จุด ใน 2 ฤดูกาล (ฤดูฝน : 27 ตุลาคม 2556 และฤดูร้อน : 20 มิถุนายน 2557) พร้อมทั้งศึกษาความรู้ความเข้าใจ และแนวทางการจัดการน้ำมันที่ใช้แล้วของเรือและแพขนานยนต์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ดินตะกอนมีอนุภาคเป็นทรายแป้ง ปริมาณอินทรียวัตถุในช่วงฤดูฝนและฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.56±0.21 และ 2.40±0.23 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ค่าความเป็นกรดด่างในช่วงฤดูฝนและฤดูร้อนมีค่าเฉลี่ย 7.76±0.15 และ 7.54±0.16 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ส่วนปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเฉลี่ยพบว่าในช่วงฤดูฝนมีค่ามากกว่าฤดูร้อน โดยคิดเป็นร้อยละ 4.83±2.97 และ 1.51±1.71 และ 1.51±1.71 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติระดับความเชื่อมั่น 0.05 เมื่อใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ศึกษาการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน (น้ำมัน) พบว่ามีการกระจายตัวอย่างเด่นชัดบริเวณใกล้ท่าเรือที่มีเรือจอดมาก (จุดที่A9 และ A6) สำหรับความรู้ความเข้าใจ และแนวทางการจัดการน้ำมันที่ไม่ใช้แล้วของเรือและแพขนานยนต์ พบว่าผู้ประกอบการเรือและแพขนานยนต์ มีความตระหนักเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อสัตว์/พืช และสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำจากคราบน้ำมันในระดับมาก แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษทางกฎหมายจากการรั่วไหลของน้ำมัน สำหรับการจัดการน้ำมันที่ใช้แล้วผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้วิธีถ่ายลงภาชนะและนำไปทิ้งบนฝั่งคิดเป็นร้อยละ 92.50 แต่น้ำมันที่หกบนเรือจะส่วนใหญ่ราดน้ำลงไปในทะเลโดยตรงคิดเป็นร้อยละ 33.75 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นว่าจำเป็นต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการน้ำมันที่ถูกต้อง |
|
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
การศึกษาปริมาณน้ำมันในดินตะกอน บริเวณปากทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา |
|