ประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่แยกจากดินในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Efficiency of Bacteria Isolated from Soil to Inhibit Rigidoporus Causing of White Root Disease in Hevea brasiliensis Muell.Arg.)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

บารียะห์ เจ๊ะและ, เพาซีย๊ะ เจ๊ะมะลี

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาจุลชีววิทยา (Microbiology) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว 579.3 บ27ป

รายละเอียด: 

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ แต่มักประสบปัญหากับโรครากขาวจากเชื้อรา Rigidoporus lienosus ทำให้ปริมาณและคุณภาพของน้ำยางพาราลดลง จึงทำการศึกษาประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่แยกจากดินในการยับยั้งถารเจริญของเชื้อรา Rigidoporus lignosus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากขาว โดยเก็บตัวอย่างดินบริเวณต้นยางพารา 3 แหล่ง ได้แก่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส อ.ยิ่งอ จ.นราธิวาส และ อ.ศรีสาคร จเนราธิวาส สามารถแยกแบคทีเรียได้ 30 ไอโซเลท เมื่อทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อรา Rigidoporus lignosus ด้วยแบคที่เรียทุกไอโซเลท พบว่ามีไอโซเลทที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ คือ ไอโซเลทที่ 5 สามารถยับยั้งได้ 29.05 %สำหรับชุด Negative control ที่เติมไคโตชาน 0.06 กรัม พบว่า สามารถยับยั้งได้ 89.62 % เมื่อศึกษาคุณสมบัติและจำแนกแบคทีเรียที่สามารถยับยั้งเชื้อรา Rigidoporus lignosus ได้ พบว่าไอโซเลทที่ 5 เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปกลม โคโลนีมีสีเทา เมือทดสอบการรีดิวส์ในเตรตพบว่าแบคทีเรียสามารถรีดิวส์ในเตรตเป็นไนไตรและรีวไนไตรต์ต่อเป็นแอมโมเนียหรือแก๊สไนโตรเจนและทดสอบการสร้างกรดจากน้ำตาลชนิดต่าง ๆ ได้แก่ glucose maltose sucrose และ lactoseพบว่าสร้างกรด และไม่สร้างแก๊ส จากการทดสอบดังกล่าวแสดงว่าเชื้อไอโซเลทที่ 5 มีความใกล้เคียงกับเชื้อ Branhamella catarrhalis มากที่สุด

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

ประสิทธิภาพของแบคทีเรียที่แยกจากดินในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา