การคัดแยกและการจัดจำแนกเชื้อราเส้นสายที่พบในกุ้งแห้งในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา (Isolation and identification of filamentous fungi from dried shrimp in Muang Songkhla District Songkhla Province)

ประเภท: 

โครงงานนักศึกษา

ผู้แต่ง: 

ดวงเดือน ลักษณาวงศ์

สำนักพิมพ์: 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ แขนงวิชาจุลชีววิทยา (Microbiology) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2558

เลขหมู่: 

ว 579.5 ด17ก

รายละเอียด: 

กุ้งแห้งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถน้ำมาเป็นส่วนประกอบอาหารหลายประเภท ได้แก่ ส้มตำ ยำ น้ำจิ้ม เป็นต้น จึงต้องเน้นความสะอาดและความปลอดภัย เนื่องจากกุ้งแห้งอาจมีการ ปนเปื้อนของเชื้อราได้ งานวิจียนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเเยกและจัดจำแนกเชื้อราเส้นสายที่พบกุ้งแห้งในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ทั้งหมด 45 ตัวอย่าง โดยนำกุ้งแห้งมาบดแล้วเจือ ด้วยสารละลาย phosphate buffer ด้วยวิธี ditution method จากนั้นเพาะเลี้ยงเชื้อราโดยวิธีspread plate บนอาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) บ่มที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเชียส เป็น เวลา 7 วัน พบว่าสามารถคัดแยกเชื้อรเส้นสายได้ทั้งหมด 147ไอโซเลท และจากผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อราเส้นสาย พบว่าสามารถจัดจำแนกเชื้อราเส้นสายได้ทั้งหมด2 คลาส คือ คลาส Zogomycetes ประกอบด้วย 1 จีนัส และ 1 สปีชีส์ ได้แก่ Rhizopus sp. BP3,คลาส Deuteromycetes ประกอบด้วย 5 จีนัส และ 15 สปีซีส์ ได้แก่ Aspergillus fumigatus BP1, Aspergillus terreus BP2, Aspergillus niger BP4, Penicillium sp. BP7, Aspergillus flavus BP12, Aspergillus sp. BP18, Penicilium sp. BP19, Botryis sp. BP20, Fusarium sp. BP25, Penicillium sp. BP29, Fusarium sp. BP31, Aspergillus sp. ST6, Fusarium sp. ST8, Fusarium sp. KB10 และ Trichoderma sp. TS24 และไม่สามารถจำแนกได้ 3 ไอโซเลท คือ BP14, BP26 และ KB10

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การคัดแยกและการจัดจำแนกเชื้อราเส้นสายที่พบในกุ้งแห้งในเขตอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา