หัตถกรรมเครื่องหนังสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาการทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากเศษหนังที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมเครื่องหนัง (The creative of leather craft : Case study of making leather products from leather industry residue materials)
|
ประเภท: |
งานวิจัย |
ผู้แต่ง: |
พีรพงษ์ พันธะศรี |
สำนักพิมพ์: |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
ปีที่พิมพ์: |
2560 |
เลขหมู่: |
ว. 745.53 พ17ห |
รายละเอียด: |
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา พัฒนาการของเครื่องหนังในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตหนัง คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของหนังประเภทต่าง ๆ 3) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากเศษหนังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นภาคใต้ และ 4) เพื่อเผยแพร่เทคนิคการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดเกาะถ้ำ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรออกแบบ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาออกแบบเครื่องหนัง รายวิชาวัสดุและกรรมวิธีและรายวิชาออกแบบของที่ระลึก จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีการนำหนังสัตว์มาประยุกต์เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน กระบวนการผลิตหนังจะมีความแตกต่างกันตามวิธีการฟอก และหนังชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน ทรงตัวได้ดีเมื่อขึ้นรูป และกันน้ำได้ แต่จะแตกต่างกันที่เฉดสีโดยหนังฟอกโครมมีเฉดสีมากกว่าหนังฟอกฟาดที่มีเพียงสีเดียว แนวคิดในการออกแบบและพัฒนางาน ผู้วิจัยเลือกการผลิตเครื่องหนังด้วยเทคนิคกรรมวิธีการเย็บด้วยมือเป็นหลักในการสร้างสรรค์งาน โดยกำหนดเกณฑ์ในการพัฒนา คือ การออกแบบสอดคล้องกับคุณสมบัติของวัสดุและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย รูปแบบผลิตภัณฑ์สะท้อนให้เห็นความเป็นธรรมชาติ และท้องถิ่นภาคใต้ ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบสอดคล้องกับความต้องการของตลาด และ กรรมวิธีการผลิตสามารถผลิตได้โดยง่าย
ผลการวิจัยพบว่า เศษหนังที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมเครื่องหนังมีความสวยงามเหมาะสมในการนำไปใช้งาน สามารถผลิตโดยวิธีการที่ไม่ซับซ้อน |
ไฟล์เอกสาร: (คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) |
หัตถกรรมเครื่องหนังสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาการทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากเศษหนังที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
|
|
|