แนวทางพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (The development of agro - tourism community by participating in Rum Deang sub district Singhanakhon district Songkhla province)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว.338.4791ป19น

รายละเอียด: 

การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมในพื้นที่ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) ศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวตำบลรำแดง 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลรำแดง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพื้นที่ตำบลรำแดง เพื่อนำมาสู่แนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จากการศึกษาพบว่า ตำบลรำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เป็นพื้นที่ชานเมือง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยสภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมีฐานเรียนรู้สำหรับศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สามารถนำนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้ตลอดเวลา สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลรำแดง สามารถออกแบบรูปแบบการท่องเที่ยวได้ในลักษณะของการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตภายใต้กิจกรรมทางการเกษตร และการทำนา การเรียนรู้ในฐานกิจกรรมเกี่ยวกับวัมนธรรมและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมในรูปแบบการนำเที่ยว 1 วัน ไปเช้า-เย็นกลับ และกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบ 2 วันหนึ่งคืน สำหรับผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพื้นที่ตำบลรำแดง พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดิเนทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวที่ตำบลรำแดง ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส นักท่องเที่ยที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่ระดับการศึกษาปริญญาตรี นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวที่ตำบลรำแดง ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 5,001-10,000 บาท นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลา นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในตำบลรำแดง ส่วนใหญ่เดินทางมาครั้งแรก นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวในวันเสาร์-อาทิตย์ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวตำบลรำแดง ส่วนใหญ่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นกลุ่ม (เพื่อน ครอบครัว) นอกจากนี้ พบว่า ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อภาพรวมความพึงพอใจกิจกรรมทางการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลางซึ่งระดับความสำคัญในแต่ละด้าน ประกอบด้วย อันดับแรก สิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับปานกลาง อันดับสอง ด้านกิจกรรม/การบริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับปานกลาง และอันดับสุดท้าย ด้านสิ่งดึงดดูดใจแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อยู่ในระดับน้อย ภาพรวมระดับความพึงพอใจในด้านสิ่งดึงดูดใจแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลรำแดง พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งระดับความสำคัญในแต่ละด้านประกอบด้วย อันดับแรก แหล่งท่องเที่ยวมีทัศนียภาพโดยรวมที่สวยงาม อยู่ในระดับปานกลาง อันดับสอง แหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจด้านพืชพันธุ์และสัตว์ที่พบเจอในแหล่ง อยูู่ในระดับปานกลาง และอันดับสาม แหล่งท่องเที่ยวมีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ ภาพรวมระดับความพึงพอใจในด้านกิจกรรม/การบริการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลรำแดง พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งระดับความสำคัญในแต่ละด้าน ประกอบด้วยอันดับแรก การแบ่งพื้นที่ทำกิจกรรมสาธิตทางการเกษตร อยู่ในระดับมาก อันดับสอง มีกิจกรรมการสาธิตการเกี่ยวข้าวตามวิถีชีวิตของชุมชนแบบดั้งเดิม อยู่ในระดับปานกลางและ อันดับสาม มีกิจกรรสาธิตการปลูกนา อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ ภาพรวมระดับความพึงพอใจในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลรำแดง พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย ซึ่งระดับความสำคัญในแต่ละด้าน ประกอบด้วย อันดับแรก ระบบสาธารณูปโภค เช่นไฟฟ้า น้ำประปา สัญญาณโทรศัพท์ อยู่ในระดับมากที่สุดอันดับสอง จุดแวะซื้อสินค้าทางการเกษตร อยู่ในระดับปานกลาง อันดับสาม ป้ายบอกทาง และป้ายสื่อความหมายตามบริเวณที่สำคัญ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

แนวทางพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา