การใช้ฟูมซิลิกาที่ปรับสภาพผิวด้วยไซเลนในผลิตภัณฑ์โฟมยางที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ (Using of Silane treated fume-silica in rubber foam product made from natural rubber latex)

ประเภท: 

งานวิจัย

ผู้แต่ง: 

เอกฤกษ์ พุ่มนก, รัฐพงษ์ หนูหมาด, วรรณฤดี หมื่นพล, อัสมา ศิรคาร, อะตีฟ๊ะ บุตรา

สำนักพิมพ์: 

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ปีที่พิมพ์: 

2559

เลขหมู่: 

ว. 678.4 ก27

รายละเอียด: 

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมดิสเพอร์สชันฟูมซิลิกา สภาวะการปรับสภาพผิวของฟูมซิลิกาด้วยสารคู่ควบไซเลน (Si69) ผลของปริมาณ Si69 และปริมาณของซิลิกาที่ปรับสภาพผิวด้วย Si69 (Si69) ที่มีต่อการแปรรูปและและสมบัติของโฟมยาง โดยพบว่าปริมาณของซิลิกาที่เพิ่มขึ้น ทำให้ดิสเพอร์สชันซิลิกา มีปริมาณของแข็งทั้งหมด และความหนืดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความหนาแน่นและค่า pH ลดลงปริมาณแอมโมเนียในดิสเพอร์สชันซิลิกาที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณของแข็งทั้งหมด ความหนาแน่น pH ตึความหนืดลดลง ซึ่งสภาวะที่เหมาะสมคือปริมาณ SiO2 และแอมโมเนียคือร้อยละ 25 และ 10 ตามลำดับ โดยใช้วัลทามอลร้อยละ 1 และน้ำเกลือร้อยละ 64 บอลมิลเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ในการเตรียมฟูมซิลิกาปรับสภาพผิวด้วยไซเลน Si69 ที่นำไปใช้ในโฟมยางและให้สมบัติที่ดีสภาวะที่เหมาะสม คืออุณหภูมิในการทำปฎิกิริยา 60 องศสเซลเซียส และปริมาณ Si69 ร้อลละ 5 พบว่าที่อุณหภูมิปฏิกิริยาสูง ปริมาณ Si69 ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้านทานต่อการดึงยืด และความสามรถในการยืดจนขาดเพิ่มขึ้น แต่ความต้านทานต่อแรงกด และค่าการจัดตัวเนื่องจากการอัดลดลง ในทางกลับกัน ที่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาต่ำ เมื่อปริมาณของไซเลนเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าความต้านทานต่อแรงกด และค่าการจัดตัวเนื่องจากการอัดมีค่าสูงขึ้น แต่การต้านทานต่อการดึงยืดและความสามารถในการยืดจนขาดลดลง การใช้ Si69-t-SiO2 ในโฟมยาง ในปริมาณน้อย (0.8-2.5 phr) ไม่มีผลต่อการแปรรูปของโฟมยาง ขนาดของเซลล์โฟมยาง การจัดตัวเนื่องจากการอัดและความต้านทานต่อการดึงยืด แต่ทำให้ความแข็ง และความสามารถในการยืดจนขาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยซึ่งปริมาณ Si69-t-SiO2 ที่เหมาะสมของ คือ 2.5 phr

ไฟล์เอกสาร: 

(คลิกที่ชื่อเอกสารเพื่ออ่าน) 

การใช้ฟูมซิลิกาที่ปรับสภาพผิวด้วยไซเลนในผลิตภัณฑ์โฟมยางที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ